แรงจูงใจ และการสนับสนุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบ
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ด้วยตนเอง, แรงจูงใจ, การสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้ด้วยตนเองของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบ เมื่อจำแนกตามตัวแปรแบ่งกลุ่มย่อย ได้แก่ ระดับชั้น เพศ อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและการสนับสนุนทางสังคมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพื่อทำนายการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แรงจูงใจ และการสนับสนุนทางสังคมของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบ เมื่อจำแนกตามตัวแปรแบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบ จำนวน 428 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยแบ่งเป็นระดับชั้นการเรียนและเพศ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบที่เรียนในระดับชั้นสูงกว่า (ระดับชั้น ม. 6) จะมีการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงกว่าผู้ที่เรียนอยู่ในระดับชั้นต่ำกว่า (ระดับชั้น ม. 3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนการศึกษานอกระบบที่มีรายได้พอใช้ มีการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ไม่พอใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) แรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจด้านอาชีพ แรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเอง แรงจูงใจด้านสังคม และการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมด้านการเงินแรงงานและสิ่งของ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) แรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจด้านอาชีพ แรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเอง แรงจูงใจด้านสังคม และการสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ การสนับสนุนทางสังคมด้านการประเมิน การสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนทางสังคมด้านการเงินแรงงานและสิ่งของ สามารถร่วมกันทำนายการเรียนรู้ด้วยตนเองของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่เรียนในการศึกษานอกระบบ ได้ร้อยละ 34.9 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นอันดับแรกคือ แรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ การสนับสนุนด้านการประเมิน และแรงจูงใจด้านสังคมตามลำดับ
Downloads
References
สุธิดา พุฒทอง. (2551). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เติมทรัพย์ จั่นเพชร. (2557). การพัฒนาตนเองของผู้ใหญ่. วารสารเกื้อการุณ, 21(1), 17-23.
Linderman, E. (1962). The meaning of adult education. New York: New Republic, inc.
Knowles, M. S. (1975). Self-Directed Learning : A guide for learners and teacher. Chicago: Association Press.
กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2556). การพัฒนาแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(82), 23-39.
Guglielmino, L. M. (1977). Development of Self-Directed learning Readiness Scale [Unpublished doctoral dissertation]. University of Georgia.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2551). หลักการของการจัดการศึกษานอกระบบและปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบ. สืบค้นจาก https://panchalee.files.wordpress.com/2018/12/7
ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล. (2558). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการศึกษาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปนิดา ทวีชาติ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 143-153.
ประณต เค้าฉิม. (2549). ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ใน รายงานการวิจัย. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A global perspective. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
เรวดี ทรงเที่ยง, และอนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Costa, and Kallick. (2004). Assessment Strategies for Self-Directed Learning. Thousand Oaks, California: Corwin.
Rogers. (1969). Freedom to learn. Columbus: Charles E.Merrill Publishing Co.
Brown, S. (Ed.). (1974). Philosophy of Psychology. Palgrave Macmillan, UK.
ภัทราพรรณ สุขประชา. (2540). ผลของการประเมินผลงานของนักเรียนโดยตนเองและโดยครูที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2538). จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
หทัยทิพย์ ภาคอินทรีย์. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จินตนา ไทธานี. (2557). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์. (2549). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิษณุ ลิมพะสูตร. (2555). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมคิด อิสระวิวัฒน์. (2538). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุธาสินี ใจเย็น. (2545). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในโรงเรียนที่เปิดสอนระบบการศึกษาทางไกลในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต