การทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในที่สาธารณะของนักศึกษาปริญญาตรี
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19, ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม, ปทัสฐานทางสังคม, ความเชื่ออำนาจในตนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประเภทการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายที่สำคัญในการทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในที่สาธารณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3-4 จากมหาวิทยาลัย จำนวน 4 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะประกอบด้วยคณะที่มีหลักสูตรการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คณะที่มีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และคณะที่ไม่มีหลักสูตรเกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 672 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่ามีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.713 - 0.847 ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่าจิตลักษณะและสถานการณ์ต่าง ๆ จำนวน 10 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในที่สาธารณะในกลุ่มรวมได้ 50.70% โดยมีลำดับตัวทำนายที่สำคัญ คือ ความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความรู้สึกต่อพฤติกรรม นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มเสี่ยงสูงที่มีพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในที่สาธารณะในระดับต่ำ คือ กลุ่มนักศึกษาเพศชาย ซึ่งควรได้รับการพัฒนา การเตรียมความพร้อม เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์โควิด 19 โดยการพัฒนาหลักสูตร/สอดแทรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคิดตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมอย่างเหมาะสม การมีแบบอย่างที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในที่สาธารณะของตนเองจากคน
รอบข้าง และการคิดเชื่อมโยงสาเหตุและผลของการติดเชื้อในที่สาธารณะ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมการป้องกันตนเองให้มากยิ่งขึ้น
Downloads
References
BBC NEWS Thailand. (2020). Retrieved March 21, 2020, from https://www.bbc.com/thai/thailand
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข. ฉบับวันที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 12.00 น. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation
Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international, 15(3), 259-267.
Ajzen, I. (1985). From Intentions to Actions: A Theory of Planned Behavior. In Action control (pp. 11-39). Berlin, Heidelberg: Springer.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2540). ตำราหลักและวิธีวิจัยทางสังคมพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Green, E. C. (2001). Can qualitative research produce reliable quantitative findings?. Field Methods, 13(1), 3-19.
Launiala, A. (2009). How much can a KAP survey tell us about people's knowledge, attitudes and practices? Some observations from medical anthropology research on malaria in pregnancy in Malawi. Anthropology Matters Journal, 11(1), 1-13.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social science & medicine, 67(12), 2072-2078.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Baker, D. W. (2006). The meaning and the measure of health literacy. Journal of general internal medicine, 21(8), 878-883.
Eagly, A. H., and Chaiken, S. (1993). The psychology of attitudes. Harcourt brace Jovanovich College Publishers.
Aaker, D. A., and Bagozzi, R. P. (1982). Attitudes toward public policy alternatives to reduce air pollution. Journal of Marketing & Public Policy, 1(1), 85-94.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decision processes, 50(2), 179-211.
Fulham, E., and Mullan, B. (2011). Hygienic food handling behaviors: Attempting to bridge the intention-behavior gap using aspects from temporal self-regulation theory. Journal of food protection, 74(6), 925-932.
Sharifirad, G., Mostafavi, F., Reisi, M., Mahaki, B., Javadzade, H., Heydarabadi, A. B., and Esfahani, M. N. (2015). Predictors of nurses’ intention and behavior in using health literacy strategies in patient education based on the theory of planned behavior. Mater Sociomed, 27(1), 22-26.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2554). การใช้งานวิจัยนำงานพัฒนาบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
Chen, P., and Vazsonyi, A. T. (2013). Future orientation, school contexts, and problem behaviors: A multilevel study. Journal of youth and adolescence, 42(1), 67-81.
Spangler, W. D. (1992). Validity of questionnaire and TAT measures of need for achievement: Two meta-analyses. Psychological bulletin, 112(1), 140-154. https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.140
Wallston, K. A., and Wallston, B. S. (1981). Health locus of control scales. Research with the locus of control construct, pp. 189-243.
Kohlberg, L. (1976). Moral Stages and Moralization: The Cognitive-Development Approach. In T. Lickona (Ed.), Moral Development and Behavior: Theory and Research and Social Issues (pp. 31-53). New York, NY: Holt, Rienhart, and Winston.
Bandura, A., Caprara, G. V., Barbaranelli, C., Pastorelli, C., and Regalia, C. (2001). Sociocognitive self-regulatory mechanisms governing transgressive behavior. Journal of personality and social psychology, 80(1), 125-135. https://doi.org/10.1037/0022-3514.80.1.125
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2541). รูปแบบปฏิสัมพันธนิยม (Interactionism model) เพื่อการวิจัยสาเหตุของพฤติกรรมและการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. วารสารทันตาภิบาล, 10(2), 105-108.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน, และดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2563). นวัตกรรมในการให้การศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลและสังคม : แนวทางของจิตพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พัชรี ดวงจันทร์, และภิญญาพันธ์ เพียซ้าย. (2560). การทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน: ประสิทธิภาพของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและตัวแปรส่วนขยาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(1), 123-146.
Ajzen, I., Joyce, N. M., Sheikh, S., and Cote, N. G. (2011). Knowledge and the prediction of behavior: The role of information accuracy in the theory of planned behavior. Basic and Applied Social Psychology, 33(2), 101-117.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต