ผลการเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลตนเอง ภาวะซึมเศร้า และการรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • บุญเลี้ยง ทุมทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ, การดูแลตนเอง, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้า ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้า ความรู้ในการดูแลตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าจากการใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรวม จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบวัดความรู้ในการดูแลตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า โดยแบบสอบถามมีค่า IOC แต่ละข้อคำถามมีค่ามากกว่า 0.66 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความรู้ในการดูแลตนเอง และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าเท่ากับ .78, .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีระดับอาการของภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}= 9.12, S.D. = 3.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้ (gif.latex?\bar{X}= 9.36, S.D. = 3.49) รองลงมาคือ หลับยากหรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป (gif.latex?\bar{X}= 9.34, S.D. = 3.45) เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร (gif.latex?\bar{X}= 9.20, S.D. = 3.47) และข้อที่มีคะแนนต่ำที่สุดคือ คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี (gif.latex?\bar{X}= 8.80, S.D. = 3.20) ตามลำดับ 2) ค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = -14.621, Sig. =.000) แสดงว่า โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าหลังการอบรมอยู่ในระดับลดลงเป็นที่น่าพอใจ 3) ค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 0.891, Sig. = .380) และ 4) กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 27.246, Sig. = .000)

Downloads

Download data is not yet available.

References

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ. (2560). สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://law.m-society.go.th/law2016/uploads/lawfile/5a543f71eaddd.pdf

กิริยา ตั๊นสวัสดิ์, และบุญเชิญ หนูอิ่ม. (2557). ปัจจัยเกื้อหนุนและสุขภาวะที่ผู้สูงอายุได้รับจากการเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(39), 263-277.

จิราภรณ์ สีดาพล, ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร, และวิไลวรรณ วัฒนานนท์. (2559). การถอดบทเรียนการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมภายใต้รูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ (โรงเรียนมั่นยืน). สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2559, จาก http://www.eresearch.ssru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1110

Hui, D., De La Cruz, M., Mori, M., Parsons, H. A., Kwon, J. H., Torres-Vigil, I., Kim, S. H., Dev, R., Hutchins, R., Liem, C., Kang, D.-H., and Bruera, E. (2013). Concepts and definitions for supportive care, best supportive care, palliative care, and hospice care in the published literature, dictionaries, and textbooks. Supportive Care in Cancer, 21(3), 659-685.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). กรมสุขภาพจิต ติงข้อมูลฆ่าตัวตายของไทยในโซเชียลมีเดีย ไม่จริง!! ยืนยัน!! สถิติของไทยอยู่ที่แสนละ 6.35 คน. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28149

อาริยา สอนบุญ, อุไร จำปาวะดี, และทองมี ผลาผล. (2562). วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 241-248.

Beck, A. T. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. New York: Harper Row.

Arffman, R. (2012). Social Support Promoting Coping for Caregivers Caring of People with Alzheimer’s disease. https://www.theseus.fi/bitstream/handle/10024/52433/thesis.pdf?sequence=1&isAllowed=y

จิรนันท์ ปุริมาตย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาริสา อุทยาพงษ์. (2560). การประยุกต์ใช้การเจริญสติ เพื่อป้องกันผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 167-191.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(1), 191-215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30