อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธานินทร์ สุธีประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • โสภา ตั้งฑีฆกูล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุภาพร บุญศิริลักษณ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พยงค์ ศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ธนิฏฐา ทองนาค วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

อัตราการฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่สำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลกและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่พบอัตราฆ่าตัวตายสูงกว่าเกณฑ์ที่กรมสุขภาพจิตกำหนดไว้เกือบทุกปี การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในจังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี 2557-2561 โดยนำข้อมูลตามแบบ รง.506DS ในปีดังกล่าวจำนวน 854 ฉบับ มาตรวจสอบและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ อัตรา ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบผู้มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายแต่ละปีอยู่ระหว่าง 151-187 ราย เป็นหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย อายุเฉลี่ยระหว่าง 35.98-38.03 ปี อายุน้อยที่สุด 12 ปี มากที่สุด 94 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองมากที่สุด พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ระหว่าง 2.71-4.24 ต่อประชากรแสนคน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย พบเพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าเพศหญิง อัตราการฆ่าตัวตายไม่สำเร็จอยู่ระหว่าง 13.54-18.97 ต่อประชากรแสนคน เป็นหญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่เป็นการฆ่าตัวตายเป็นครั้งแรก และมักพบพฤติกรรมทำร้ายตนเองซ้ำภายใน 2 ปี นับจากการทำร้ายตนเองครั้งแรกและอาจยาวนานอีกหลายปี ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จใช้วิธีแขวนคอตายและผู้ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จใช้วิธีกินยาเกินขนาดมากที่สุด สาเหตุการทำร้ายตนเองของผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเกิดจากปัญหาโรคเรื้อรัง/เอดส์/พิการ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ตำหนิ มีภาวะซึมเศร้าและผิดหวังความรัก ในขณะผู้ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จก็มีสาเหตุใกล้เคียงกับผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ ยกเว้นสาเหตุจากโรคเรื้อรัง/เอดส์/พิการที่พบในสัดส่วนน้อยกว่า ทั้งสองกลุ่มมีปัญหาสุขภาพจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคจิต อัมพาต/โรคเส้นเลือดสมอง/ไขสันหลัง และเอดส์/HIV และมีพฤติกรรมติดบุหรี่ สุรา สารเสพติดใกล้เคียงกัน งานวิจัยมีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการ (Service plan) ด้านสาขาสุขภาพจิตและจิตเวชของหน่วยงานทุกระดับให้มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีการบันทึกข้อมูลตามแบบ รง.506DS ที่ครบถ้วน ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน พัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลและการติดตามเฝ้าระวังผู้มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในปีแรกหลังการทำร้ายตนเองและควรมีการประเมินความเสี่ยงในกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในทุกกลุ่มวัยในด้านสัมพันธภาพและการจัดการปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. (2000). Preventing sucide: A resource for general physicians. Department of Mental Health. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (2019). Risk of countries by suicide rates. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_suicide_rate

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย ปี พ.ศ. 2540-2562. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานผลการศึกษาเชิงระบาดวิทยาการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิต. สืบค้นจาก http://suicide.jvkk.go.th/menu3.aspx

Durkheim, E. (1996). Suicide. New York: Mc Millan Publishing.

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2557). อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 90-103.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี, บุญมา สุนทราวิรัตน์, และนิตยาภรณ์ โคตรแก้ว. (2564). สถานการณ์และแนวทางการป้องกันการฆ่าตัวตาย: มุมมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจังหวัดเลย ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3), 112-126.

อนุพงศ์ คำมา. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 3-16.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://ww1.suphanburi.go.th/files/com_news_devpro1/2020-07_7047b7baac73ec2.pdf

ธัญชนก บุญรัตน์. (2559). พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 30(1), 101-109.

วันรวี พิมพ์รัตน์, และจินตนา กมลพันธุ์. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 739-748.

นภดล สำอาง. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 266-276.

ศศิธร กมลธรรม, และรุ่งระวี แก้วดี. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จในเขตเมืองจังหวัดลำปางด้วยการสืบค้นหลังเสียชีวิต ตุลาคม 2553 – กันยายน 2556. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(1), 47-54.

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์, วาสนา สุปินนะ, จุฑามาส สุขอิ่ม, และศุภชัย นาทองไชย. (2562). การฆ่าตัวตายของนักศึกษากับการปรับตัวของครอบครัว มหาวิทยาลัยและรัฐ: การศึกษาโดยใช้ข่าวในหนังสือพิมพ์เป็นฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสต์และสังคมศาสตร์), 11(21), 135-147.

Apter, A., and Wasserman, D. (2003). Suicide in children and adolescents. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2542916/

ปรารถนา คำมีสีนนท์, พรดุสิต คำมีสีนนท์, จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ, เอมหทัย ศรีจันทร์หล้า, สุนันทา คำชมพู, และวัชรีวัลย์ เสาร์แก้ว. (2563). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของผู้พยายามฆ่าตัวตายในเขตบริการสุขภาพที่ 7. วารสารป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งประเทศไทย, 1(1), 25-40.

จีระนันท์ คำแฝง. (2563). พฤติกรรมการฆ่าตัวตายสำเร็จของประชาชนอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 18(2), 7-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30