ความรู้และพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของแพทย์เพิ่มพูนทักษะชั้นปีที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2

ผู้แต่ง

  • เปรมวิทย์ ก้อนนาค ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • อัยนาอ์ มูฮำหมัดอัลนะห์ดี ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • รุจาภา เพชรเจริญ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านการเงิน, การบริหารการเงินส่วนบุคคล, แพทย์เพิ่มพูนทักษะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความรู้และพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคล และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลของแพทย์เพิ่มพูนทักษะชั้นปีที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ แพทย์เพิ่มพูนทักษะชั้นปีที่ 1 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 132 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า มีแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ร้อยละ 96.3 มีความรู้อยู่ในระดับสูง มีพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคลตรงกับการปฏิบัติระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.49) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารการเงินส่วนบุคคล คือ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนและระดับความรู้ด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนาคารกรุงไทย. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนธนาคารกรุงไทย, 2561. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565, จาก https://krungthai.com/th/financial-partner/economy-resources/economic-report

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564, จาก https://www.moneybuffalo.in.th/business-economy/thaieconomy-2020

สยานนท์ สหุนันต์. (2561). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 369-383.

สมเกียรติ โอสถสภา. (2560). ส่องเงินเดือนและค่าตอบแทนของแพทย์ อัปเดตประจำปี 2017. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.admissionpremium.com/content/2260

ทัดดาว วิโรจน์อุไรเรือง. (2560). บุคลากรทางการแพทย์วางแผนการเงินอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.aiaplanner.com/healthcare-financialplanning/

แพทยสภา. (2563). รายชื่อโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองเป็นสถาบันปฏิบัติติงานเพิ่มพูนทักษะและจำนวนแพทย์ที่อนุมัติ ประจำปี พ.ศ. 2563. จาก https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/618

ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 375-396.

ธีรพัฒน์ มีอําพล. (2558). ความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการออมที่ส่งผลต่อการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุกรณีศึกษากลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ จงอร่ามเรือง. (2563). การวางแผนภาษีสำหรับแพทย์ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.finnomena.com/z-story/tax-planner-2563/

นิสริน วิชิตะกุล, และจรัญญา ปานเจริญ. (2562). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีผลต่อการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของข้าราชการกองทัพบกในส่วนกองบัญชาการกองทัพบก. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, จาก https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/Year8-2/8225.pdf

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, และปรรณ เก้าเอี้ยน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 32(2), 29-57

สมบูรณ์ สารพัด, ศิรินุช อินละคร, และชไมพร ชินโชต. (2565). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากรวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 218-234.

ดาราพร ผาสุก. (2564). ความรู้ด้านการเงินส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเงินของข้าราชการสำนักงาน ก.พ.. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993680.pdf

ศิวัช กรุณาเพ็ญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมและพฤติกรรมการออมของคน Gen Y [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30