ผลิตภาพการทำงานของผู้สูงอายุในภาคบริการของบริษัทเอกชนไทย

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา อัศวนิรันดร วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชฎาธาร โอษธีศ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผลิตภาพการทำงาน, ประสิทธิภาพ, ทัศนคติ, ผู้สูงอายุ, ภาคบริการ, บริษัทเอกชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาผลิตภาพการทำงานของผู้สูงอายุในภาคบริการ และวิเคราะห์ผลิตภาพจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่ทำงานในภาคบริการของบริษัทเอกชนไทย ซึ่งใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยเก็บข้อมูลผู้สูงอายุและหัวหน้างานในหน่วยงานเอกชนที่เป็นตัวอย่างทั้งหมด 7 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจอยู่ในภาคบริการ ได้แก่ ธุรกิจประเภทขายปลีก โทรคมนาคม บริการด้านสุขภาพ และการผลิต ได้จำนวนผู้สูงอายุที่เป็นตัวอย่างที่สามารถนำข้อมูลมาจับคู่กับหัวหน้างานได้ทั้งหมด 204 คน ในการวัดผลิตภาพการทำงานนี้ใช้การประเมินความพึงพอใจของหัวหน้างานที่มีต่อการทำงานของผู้สูงอายุ (Supervisor Rating) ซึ่งประเมินผลผลิตจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ประสิทธิภาพการทำงานและทัศนคติการทำงาน โดยผลการศึกษาพบว่า หัวหน้างานประเมินว่ามีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการทำงานและทัศนคติของผู้สูงอายุสูงกว่าวัยทำงานอื่นที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกันเล็กน้อย และเมื่อแยกวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพกับทัศนคติออกจากกัน พบว่าในเชิงประสิทธิภาพการทำงาน ร้อยละ 56.9 ของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าหรือเทียบเท่าแรงงานทั่วไป ในขณะที่เมื่อพิจารณาด้านทัศนคติการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุจะมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมากกว่าแรงงานทั่วไปสูงกว่าอย่างชัดเจน (ร้อยละ 68.1) แสดงให้เห็นว่า ข้อได้เปรียบของผู้สูงอายุในการทำงานในมุมมองของหัวหน้างานที่ประเมินนั้น คือ การมีทัศนคติที่ดี หรือให้ความสำคัญกับงานที่ทำเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังได้นำเอาปัจจัยเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา รูปแบบการทำงาน และทักษะที่สำคัญ ของผู้สูงอายุมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของบริษัทในการตัดสินใจจ้างผู้สูงอายุเข้าทำงาน โดยทักษะที่ดีที่สุดของผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับวัยแรงงานอื่น คือทักษะที่เน้นการบริหารจัดการในระดับสูง หรือเน้นกระบวนการคิด เช่น ตำแหน่งผู้จัดการ ผู้บริหาร และทักษะที่เน้นการสื่อสาร และการประสานงาน เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประสานงาน พนักงานบริการลูกค้า ในขณะที่ทักษะด้านการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นทักษะที่ผู้สูงอายุอาจให้ผลิตภาพที่ไม่ได้โดดเด่นมากนัก เนื่องมาจากต้องอาศัยการตัดสินใจที่รวดเร็วและสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบของผู้สูงอายุและนำไปสู่การสร้างผลผลิตของการทำงานที่ลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

References

Lee, R. D., and Mason, A. (2006). What is the demographic dividend? Finance and Development, 43(3), 16-17.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

กระทรวงแรงงาน. (2563). ฐานข้อมูล Smart Job Center. สืบค้นจาก http://smartjob.doe.go.th/JSK/JobAnnounce/JobMatching

กระทรวงแรงงาน. (2562). ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ. สืบค้นจาก http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/prakad_elderly-compensation_for3march2019.pdf

กระทรวงแรงงาน. (2562). บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้ผู้สูงอายุระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/implementation/th1564473286-1162_9.pdf

ชลธิชา อัศวนิรันดร, ชฎาธาร โอษธีศ, วัชระ เพชรดิน, วิรัลพัชร มานิตศรศักดิ์, และนลัท จิลลานนท์. (2563). รายงานการวิจัย โครงการรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย: ความยืดหยุ่น ผลิตภาพ และการคุ้มครอง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงนุช สุนทรชวกานต์, และพิสุทธิ์ กุลธนวิทย์. (2556). การศึกษาผลิตภาพแรงงานตามอายุของแรงงานและการทำงานของแรงงานสูงอายุในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการค้าและบริการและภาคการขายส่ง-ขายปลีกฯ และโรงแรม-ภัตตาคาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

Skirbekk, V. (2008). Age and productivity potential: A new approach based on ability levels and industry-wide task demand. Population and Development Review, 34, 191-207.

Remery, C., Henkens, K., Schippers, J., and Ekamper, P. (2003). Managing an aging workforce and a tight labor market: Views held by dutch employers. Population Research and Policy Review, 22, 21-40. https://doi.org/10.1023/A:1023543307473

Waldman, D. A., and Avolio, B. J. (1986). A meta-analysis of age differences in job performance. Journal of Applied Psychology, 71(1), 33-38. https://doi.org/10.1037/0021-9010.71.1.33

Swick, R., Bathgate, D., and Horrigan, M. (2006). Services Producer Price Indices: Past, Present, and Future. U.S. Bureau of Labor Statistics. Retrieved from https://conference.nber.org/confer/2006/si2006/prcr/swick.pdf

Maroto-Sánchez, A. (2012). Productivity in the services sector: Conventional and current explanations. The Service Industries Journal, 32, 719-746. https://doi.org/10.1080/02642069.2010.531266

กระทรวงแรงงาน. (2563). ความต้องการด้านทักษะของผู้ทำงาน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก http://manpower.mol.go.th/pmanp_2017/index.php/main/table_view/47

Bitran, G. R., and Chang, Li. (1984). Productivity measurement at the firm level. Interfaces, 14(3), 29-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30