กลวิธีการแปลชื่ออาหารภาคเหนือเป็นภาษาจีน

ผู้แต่ง

  • นิรัตน์ ทองขาว โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สวี เซ้าเซียน โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

กลวิธีการแปล, ภาษาจีน, การแปลไทย-จีน, อาหารภาคเหนือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารภาคเหนือจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน และ 2) เสนอแนะแนวทางการแปลชื่ออาหารท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน โดยวิเคราะห์ข้อมูลการแปลจากหนังสือ THAI FOOD IN 3 LANGUAGES จัดทำและเรียบเรียงโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเลือกศึกษาเฉพาะอาหารภาคเหนือ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาหารคาว จำนวน 119 รายชื่อ และอาหารหวาน จำนวน 20 รายชื่อ จากนั้นวิเคราะห์ว่าอาหารแต่ละชื่อใช้กลวิธีการแปลแบบใด โดยใช้แนวคิดและกลวิธีการแปลของพิมพันธุ์ เวสสะโกศล กนกพร นุ่มทอง และ Zhou Lingshun เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์พบการใช้กลวิธีการแปล 6 ชนิด โดยกลวิธีที่พบมากที่สุดคือ กลวิธีการแปลแบบตรงตัว (33.09%) และกลวิธีการแปลแบบตรงตัวและเพิ่มคำ (30.94%) ส่วนกลวิธีที่ไม่ปรากฏในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ กลวิธีการแปลแบบถอดเสียงทับศัพท์ สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแปลชื่ออาหารท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายเป็นภาษาจีน คือ 1) การแปลชื่ออาหารที่มีส่วนประกอบจากผักพื้นบ้าน ควรใช้วิธีการสืบค้นชื่อพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ตรงกันในภาษาจีน และตรวจสอบด้วยการค้นหารูปภาพเพื่อยืนยันความถูกต้อง 2) การแปลชื่ออาหารจากวิธีการปรุงและรสชาติอาหารนั้น โดยทั่วไปจะใช้กลวิธีการแปลแบบตรงตัวเป็นหลัก แต่หากอาหารนั้นมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมหรือไม่ปรากฏในวัฒนธรรมปลายทางให้ถ่ายทอดความหมายนั้น ๆ ด้วยกลวิธีการแปลแบบแทนที่ทางวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2563). ทฤษฎีและหลักการแปล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2559). ท่องเที่ยวเชิงอาหาร. กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.

เนตรน้ำทิพย์ บุดดาวงศ์, และศรัณธร สุระหาร. (2564). การศึกษากลวิธีการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาจีน : กรณีศึกษาร้านอาหารไทยในนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12 (1), 171-184.

พิมพันธุ์ เวสสะโกศล. (2562). การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2561). แปลผิด แปลถูก : คัมภีร์การแปลยุคใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กนกพร นุ่มทอง. (2563). การศึกษาปัญหาการแปลบทขยายและส่วนเสริมจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 38(2), 89-105.

ประเทืองพร วิรัชโภคี, และนุชนาท จันทร์เจือศิริ. (2564). การแปลชื่ออาหารในพระราชนิพนธ์แปลวรรณกรรมจีนร่วมสมัยในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารจีนวิทยา, 15 (1), 9-56.

เอกชัย แสงจันทร์ทะนุ. (2563). กลวิธีการแปลชื่อละครและซีรีส์ไทยเป็นภาษาจีน. มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 116-136.

กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lingshun, Z. (2018). Understanding and Enhancing Translation. Nanjing: Nanjing University.

Guangrong, D. (2013). A Practical Coursebook for International Business Translation. Beijing: Tsinghua University.

Shaoqing, H., and Shanshan, Y. (2017). Shangwu Yingyu fanyi shiwu. Beijing: Renmin University of China.

อาภิสรา พลนรัตน์, และไกรสิทธิ์ จามรจันทร์สาขา. (2562). การตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงราย. วารสารมังรายสาร, 7(1), 13-26.

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). Thai Food in 3 Languages. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564, จาก http://www.li.cmu.ac.th/upload/source/ebook/ThaiFood-ebook/LICMU_Thai_Food_1.pdf

รณิดา ปิงเมือง. (ม.ป.ป.). ตำรับอาหารพื้นบ้านล้านนา จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564, จาก https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/-1_45.pdf

ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2550). อาหารพื้นบ้านล้านนา. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2564, จาก http://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannafood/

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. (2556). สารานุกรมภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นไทย 4 ภาค (พิมพ์ครั้งที่ 2). สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จาก http://bedolib.bedo.or.th/book/11

นูรีดา สะมุ, นูรีมัน ตาเหร์, และมานีซะ ดอลอ. (2560). การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาในการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 5(1), 81-100.

ธีระ รุ่งธีระ. (2560). ความเป็นไทยและความเป็นอื่นในชื่ออาหารไทยที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 (หน้า 10-33). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30