การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างการสอนแบบ EIS กับการสอนแบบปกติ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ใช้การสอนแบบ EIS กับการสอนแบบปกติ ประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 19 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 660 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วิธีการสอนแบบEIS และวิธีการสอนแบบปกติ 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม เจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กิจกรรมที่นักเรียนทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากเวลาเรียนปกติในวิชาวิทยาศาสตร์ สภาพแวดล้อมในการเรียน ความตั้งใจเรียนของนักเรียน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่มีการสอนแบบEIS กับการสอนแบบปกติ พบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 2) ผลการเปรียบเทียบตัวแปรแต่ละตัวในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่าการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง และคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ใช้การสอนแบบEIS กับกลุ่มที่ใช้การสอนแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ EEC. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง.
จันทนี เทือกทอง. (2550). ตัวแปรพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐานวัฒน์ พุฒวิบูลย์วุฒิ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าอากาศในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช 2548. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนัย พุทธนิยม. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 9(2), 74-83.
นวรัตน์ ประทุมตา. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ละเอียด ภาษี. (2552). การวิเคราะห์พหุระดับตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรพงษ์ งามสม. (2549). รูปแบบใหม่การจัดการศึกษาสองภาษา: หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ (EIS) กรณีศึกษาโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา.
อาภรณ์ อินต๊ะชัย. (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายับ เชียงใหม่.
เอื้อมพร สร้างตนเอง. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบการเรียนแผนผังมโนมติกับการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.