การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

สมนา ชื่นคลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างนักศึกษาเลือกเรียนต่อและไม่เลือกเรียนต่อ (3) เพื่อสร้างฟังก์ชั่นทำนายกลุ่มนักศึกษาเลือกศึกษาต่อและไม่เลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เก็บเฉพาะนักศึกษาที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรคณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2557-2558 รุ่นที่ 41 และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูรวมทั้งสิ้น จำนวน 667 คน แบบสอบถามที่ใช้แบ่งความคิดเห็นออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดเห็นด้านลักษณะสถาบัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ความคิดเห็นด้านลักษณะสังคม เศรษฐกิจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 ความคิดเห็นด้านลักษณะส่วนบุคคล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 และความคิดเห็นด้านลักษณะแรงจูงใจในการศึกษาต่อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละและการวิเคราะห์จำแนกพหุ (discriminant analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาเลือกเรียนต่อและไม่เลือกเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัว ในตัวแปร ความคิดเห็นด้านลักษณะสถาบัน (X2) อาชีพ (X1) ความคิดเห็นด้านลักษณะสังคม เศรษฐกิจ ( X3) และความคิดเห็นด้านลักษณะส่วนบุคคล (X4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความคิดเห็นด้านลักษณะแรงจูงใจในการศึกษาต่อ (X5) ไม่พบความแตกต่าง ตัวแปรที่มีน้ำหนักสูงสุดในฟังก์ชั่นแบ่งกลุ่ม คือ ความคิดเห็นด้านลักษณะสถาบัน (X2) รองลงมา อาชีพ (X1) ความคิดเห็นด้านลักษณะสังคม เศรษฐกิจ (X3) ความคิดเห็นด้านลักษณะ ส่วนบุคคล (X4) และความคิดเห็นด้านลักษณะแรงจูงใจในการศึกษาต่อ (X5) ตามลำดับ โดยมีฟังก์ชั่นการแบ่งกลุ่มดังนี้ ZY = 0.810 ZX 2+0.631ZX 1+0.605 ZX3+ 0.563Z X 4+ 0.499 ZX5 ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นทำนายสมาชิกกลุ่มนักศึกษาเลือกศึกษาต่อและไม่เลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 59.37

Article Details

How to Cite
ชื่นคลัง ส. (2018). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 9(2), 107–117. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/173095
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2555). 41 ปี มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนังสือที่ระลึก. กรุงเทพฯ

นันทิดา โฉมงาม. (2551). ความต้องการศึกษาต่อของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปี: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์ปณต เปลี่ยนอารมณ์. (2550). การตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์: กรณีศึกษาห้างเดอะมอลล์. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรวิทย์ รุ่งบุญพุฒิวงศ์. (2553). ปัจจัยในการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศุภร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ-อาร์ บิซิเนสเพรส.

ทวีชัย วิริยะโกศล. (2541). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตการศึกษา 1. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

อดุลย์ วิริยเวชกุลม (2541). การส่งเสริมคุณภาพประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ

Alder, A. (1930). Individual Psychology, In Psychology of 1930. Edited by C. Murchison Worcester Mass : Clark University. pp. 395-405

Morstain, Barry R. ; John C. Smart. (1974). Reasons for Participation in Adult Education Courses : A Multivariate Analysis of Group Differences. Adult Education. 24 ( 2 ).

National Institute for Adult Education (NIAE). (1971). The Year Book of Adulteducation. New York: McGraw-Hill