ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องข้อมูลเชิงประจักษ์ดีของโมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อถือ 0.965 จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 860 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมเอ-มอส ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 50 ตัวบ่งชี้ จำแนกได้ดังนี้ องค์ประกอบหลักความฉลาดทางอารมณ์ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองมี 3 ตัวบ่งชี้ 2) การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การควบคุมอารมณ์ของตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้ 5) ทักษะทางสังคม มี 3 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบหลักวิสัยทัศน์ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ มีข้อคำถาม จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักการทำงานเป็นทีม มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) เป้าหมายการทำงาน มี 5 ตัวบ่งชี้ 2) การร่วมมือ มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) บทบาทที่ได้รับ มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักความคิดสร้างสรรค์ มี 3องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความคิดยืดหยุ่น มีข้อคำถาม จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ 2) ความคิดใหม่มีข้อคำถาม จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 3) จินตนาการมีข้อคำถาม จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และทุกองค์ประกอบหลักมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือตํ่ากว่า 20%จำนวน 50 ตัวบ่งชี้ 2)โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมากพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (2) เท่ากับ 8.86 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 9 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.45และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 มีค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 องค์ประกอบหลักมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกองค์ประกอบและทุกตัวบ่งชี้
Article Details
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551.) “การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมิน” การประชุมวิชาการ เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม. วันที่ 29 สิงหาคม 2551. โรงแรมแอมบาสเดอร์
ยาเบ็น เรืองจรูญศรี(2552). การบริหารเชิงบูรณาการ (CEO) สืบค้นวันที่ 15 กรกฏาคม 2557 .เข้าถึงได้จาก www.kroobannok.com/
รักจุฬา ตังตระกูล (2556) .การสร้างภาวะผู้นำอย่างมีคุณค่า.สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เข้าถึงได้จาก www.intrans.co.th
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์. (2542) ภาวะผู้นำทางการแพทย์ในองค์การ,เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
วรวิทย์ จินดาพล.(2553). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ศันสนีย์ ชูเชื้อ. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงาน เป็นทีมของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
อนันท์ งามสะอาด (2553) “กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา”เข้าถึงได้จาก : http://sisatblog.wordpress.com/2010/08/07/rr/ ค้นคืนข้อมูล 16 มกราคม 2559
Booth, R.Z. (1994). A mandate for nursing education leadership : Change. Journal of Professional Nursing, 10(January-April), 335-341.
Crow, Raym. “The case for institutional repositories: SPARC position paper.” [Online]. Available: http://scholarship.utm.edu/20/1/SPARC_102.pdf 2002.
David Saunders (2002). Integral leadership. สืบค้นวันที่ 15 กรกฏาคม 2557 เข้าถึงได้จากhttp : //en.wikipedia.org/wiki/Integral_leadership
Lynelle Briggs (2005) Co-design with customers is vital to Service Delivery Reform สืบค้นวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เข้าถึงได้จากhttp : //www.humanservices.gov.au/Palus, C.J. & Horth, D.M. (2005). The Leader’s Edge : Six Creative Competencies for Navigating Complex Challenges. San Francisco : Jossey Bass.
Ginny O'Brien(2006). Integrated Strengths Lead to Next Level. สืบค้นวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 เข้าถึงได้จาก http : //www.columbiaconsult.com
Rebecca Shambaugh (2013).Leader to Leader Volume 2013, Issue 69, pages 24–30, Summer 2013