รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเอกชน

Main Article Content

ภาณุ ชินะโชติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อศึกษาจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาของหัวหน้าสาขาวิชามหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยหัวหน้าสาขาวิชามหาวิทยาลัยเอกชนจำนวน 220 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิชนิดไม่มีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าสาขาวิชามหาวิทยาลัยเอกชนที่ผู้วิจัยพัฒนาทั้ง 7 องค์ประกอบดังนี้ การมีวิสัยทัศน์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล คุณลักษณะผู้นำ การเปลี่ยนสภาพ กลยุทธ์ที่บรรลุวิสัยทัศน์มีความสำคัญต่อรูปแบบภาวะผู้นำของหัวหน้าสาขาวิชา 2) องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติระดับมากถึงมากที่สุดมากกว่าร้อยละ 80 ทั้งหมด 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความตรงเชิงโครงสร้าง ( χ2 = 20.19 ; df = 13, p = .091, GFI = .976, AGFI = .948, RMR = .008 ) และ 4) หัวหน้าสาขาวิชามีจุดเด่นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือด้านการแปลงสภาพ( =4.106) และมีจุดที่ควรพัฒนา คือด้านการกระตุ้นทางปัญญา ( =3.809 )

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชีวิน อ่อนละออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรัชญา มะลิหวล (2555) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2: 2551: 281. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหลียวหลังแลหน้า ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน 29 มกราคม 2558.

อรัญ มูลบุญ. (2557). ปัจจัยภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการ บริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับพิเศษ).

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th ed). New Jersey: Pearson Education Inc.

Hoy, Wayne K., & Miskel, Cecil G. (2005). Educational Administration (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

Kouzes, J., & Posner. B. (1995). The Leadership Challenge: How to Keep Extraordinary Things Done in Organization. San Francisco CA: Jossey-Bass.

Tichy, N.M. and Devanna, M.A. (1990). “The Transformational Leader,” Training and Development. 19(11).