แนวคิดและการประยุกต์ใช้กระบวนการปรับเทียบคะแนนตามทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ

Main Article Content

พนิดา พานิชวัฒนะ

บทคัดย่อ

การปรับเทียบคะแนน (Equating) เป็นกระบวนการสถิติที่ใช้ในการแปลงคะแนนบนสเกลของแบบสอบฉบับหนึ่งไปยังสเกลของแบบสอบอีกฉบับ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบคะแนนระหว่างแบบสอบได้อย่างถูกต้อง วิธีการปรับเทียบคะแนนแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ วิธีการปรับเทียบคะแนนแบบดั้งเดิม (Classical Equating Methods) และวิธีการปรับเทียบคะแนนตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory Equating Methods: IRT Equating Methods) ซึ่งวิธีการปรับเทียบทั้ง 2 ประเภทถูกพัฒนาในเชิงทฤษฎีและประยุกต์ใช้กับการทดสอบจริงและข้อมูลที่จำลองขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาการปรับเทียบคะแนนตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายนั้น เริ่มต้นจากการพัฒนาวิธีการปรับเทียบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบเอกมิติ (Unidimensional IRT Equating Methods: UIRT Equating Methods) เพื่อแปลงคะแนนระหว่างแบบสอบที่มุ่งวัดคุณลักษณะเดียว ซึ่งประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าวขึ้นอยู่กับการเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบเอกมิติ ภายหลังมีการพัฒนาแบบสอบพหุมิติและนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย นักวิชาการจึงพัฒนากระบวนการปรับเทียบคะแนนตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ (Multidimensional IRT Equating Procedures :MIRT Equating Procedures) ที่สอดคล้องกับโครงสร้างของแบบสอบที่มุ่งวัดหลายคุณลักษณะ อีกทั้งยังมีการวิจัยและประยุกต์ใช้วิธีการดังกล่าวกับการทดสอบจริงและข้อมูลที่จำลองขึ้น สำหรับข้อสอบที่ตรวจให้คะแนนสองค่าและหลายค่า รวมถึงแบบสอบรูปแบบผสม

Article Details

How to Cite
พานิชวัฒนะ พ. (2019). แนวคิดและการประยุกต์ใช้กระบวนการปรับเทียบคะแนนตามทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10(2), 318–329. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/232479
บท
บทความวิชาการ

References

พนิดา พานิชวัฒนะ. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม . (ครุศาสตรมหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brossman, B. G. (2010). Observed score and true score equating procedures for multidimensional item response theory. (Doctor of Philosophy), University of Iowa. Retrieved from http://ir.uiowa.edu/etd/469

Brossman, B. G., & Lee, W.-C. (2013). Observed score and true score equating procedures for multidimensional item response theory. Applied Measurement in Education, 27(3), 159-172. doi: 10.1080/08957347.2014.905785

Holland, P. W. (2007). A framework and history for score linking. In N. J. Dorans, M. Pommerich & P. W. Holland (Eds.), Linking and aligning scores and scales (pp. 5-30). New York: Springer Science+Business Media, LLC.

Kolen, M. J., & Brennan, R. L. (2004). Test Equating, scaling, and linking: methods and practices. In S. E. Fienberg & W. J. v. d. Linden (Series Eds.), S. E. Fienberg & W. J. v. d.

Lee, E. (2013). Equating multidimensional tests under a random groups design: a comparison of various equating procedures. (Doctor of Philosophy), University of Iowa. Retrieved from http://ir.uiowa.edu/etd/5011

Lee, W.-C., & Brossman, B. G. (2012). Observed score equating for mixed-format tests using a simple-structure multidimensional IRT framework. Center for Advanced Studies in Measurement and Assessment (CASMA), 2(2.2), 115-142.

Peterson, J. L. (2014). Multidimensional item response theory observed score equating methods for mixed-format tests. (Doctor of Philosophy), The University of Iowa.

Zhang, J., & Stout, W. (1999). Conditional covariance structure of generalized compensatory multidimensional items. Psychometrika, 64(2), 129-152.

Zhang, O. (2012). Observed score and true score equating for multidimensional item response theory under nonequivalent group anchor test design. (The Degree of Doctor of Philosophy), University of Florida.