การจัดการสอนและวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการจัดการสอนออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

กมลทิพย์ ศรีหาเศษ
สุวิมล ติรกานันท์
จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ
พนิดา พานิชวัฒนะ
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์
จุฑามาศ แสงงาม
ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์
สิริรัตน์ หิตะโกวิท
เยาวภา แสนเขียว

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการสอนและวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการจัดการสอนออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา และ ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนและผู้สอนที่มีต่อการจัดการสอนออนไลน์ในด้านสื่อประกอบการสอน การบรรยายออนไลน์และการมอบหมายงานโดยรายวิชาเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 4 รายวิชา สุ่มจากหมวดวิชาพื้นฐานและหมวดวิชาเอก ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2562 บรรยายข้อมูลเบื้องต้น ด้วยความถี่และร้อยละ และเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนนักศึกษาในแต่ละเกรดที่ได้จากการประเมินผลการเรียนระหว่างการสอนออนไลน์กับการสอนแบบปกติในปีการศึกษาที่ผ่านมาด้วย Median Test การจัดรูปแบบการสอนและการวัดผลแตกต่างกันไปตามโปรแกรมการประชุมทางไกลออนไลน์ที่ใช้สอน และความซับซ้อนของเนื้อหารายวิชา


                ผลการวิจัยพบว่า การสอนในวิชาพื้นฐาน สัดส่วนจำนวนนักศึกษาในแต่ละเกรดที่ได้จากการประเมินผลการเรียนไม่แตกต่างจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ส่วนการสอนในวิชาเอกบังคับร่วม สัดส่วนจำนวนนักศึกษาในแต่ละเกรดที่ได้จากการประเมินผลการเรียนแตกต่างจากปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนจำนวนนักศึกษาได้เกรด A และ A- สูงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเกรด B+ และ B ลดลง และการสอนในวิชาเอกบังคับเฉพาะ สัดส่วนจำนวนนักศึกษาในแต่ละเกรดที่ได้จากการประเมินผลการเรียนไม่แตกต่างจากปีการศึกษาที่ผ่านมา

Article Details

How to Cite
ศรีหาเศษ ก. ., ติรกานันท์ ส. ., มาสันเทียะ จ. ., พานิชวัฒนะ พ. ., กล้ายประยงค์ . ร., แสงงาม จ. ., ทิพยกุลไพโรจน์ ด. ., หิตะโกวิท . ส. ., & แสนเขียว เ. . (2020). การจัดการสอนและวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการจัดการสอนออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 11(2), 40–51. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/248128
บท
บทความวิจัย

References

Alghazo, A. M. (2005). Comparing Effectiveness Of Online and Traditional Teaching Using Students' Final Grades. Online Journal for Workforce Education and Development, 1(3), 1-11.

Buzzetto-More, N. A. (Ed.). (2007). Advanced principles of effective e-learning. Informing Science.

Garber, A. M. (2015). Everywhere and anytime, here and now: digital and residential education at Harvard.

Ong, M. T. Y., Ling, S. K. K., Wong, R. M. Y., Ho, K. K. W., Chow, S. K. H., Cheung, L. W. H., & Yung, P. S. H. (2020). Impact of COVID-19 on Orthopaedic clinical service, education and research in a University hospital. Journal of orthopaedic translation, 25(-), 125-127.

Sadiku, M. N., Adebo, P. O., & Musa, S. M. Online Teaching and Learning.

Surr, C. A., Gates, C., Irving, D., Oyebode, J., Smith, S. J., Parveen, S., ... & Dennison, A. (2017). Effective dementia education and training for the health and social care workforce: a systematic review of the literature. Review of educational research, 87(5), 966-1002.

Sun, A., & Chen, X. (2016). Online education and its effective practice: A research review. Journal of Information Technology Education, 15(-), 157-190.