ปัจจัยและเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคมไทย

Main Article Content

กรุณา มธุลาภรังสรรค์

บทคัดย่อ

ความขัดแย้งความบาดหมางกันระหว่างบุคคล กลุ่มคน องค์กร หรือสถาบันเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนสังคม เกิดความตรึงเครียด ความไม่สงบสุข ความหวาดระแวง มีปัจจัยจากการตัดสินใจ การรับรู้ ผลประโยชน์ ค่านิยม ที่ต่างกัน การไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าการแตกแยกทางทัศนะ ความคิด และความต้องการทางภูมิภาคเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งในการหาทางออกของประเทศ ทุกสังคมย่อมหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ความขัดแย้งในสังคมเป็นเรื่องปกติ เพียงแค่ความขัดแย้งสามารถหาข้อยุติได้ในกรอบของกลไกที่มีอยู่ สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไปได้ตราบเท่าที่ปัญหาความขัดแย้งอยู่ในสัดส่วนที่ไม่แผ่กระจายไปทั่ว จนหาวิธีการหรือกลไกเพื่อยุติความขัดแย้งไม่ได้ สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไป ถือได้ว่าสังคมนั้นยังอยู่ได้อย่างสมานฉันท์ แต่เมื่อความขัดแย้งถึงจุดที่ไม่สามารถจะแก้ไขเยียวยาได้ ทางเลือกของสังคมก็จะถูกจำกัดลง การพยายามแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้วยการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย การแก้ไขความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรง ผลคือ การที่ฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ ผู้ชนะก็จะสร้างกฎระ รบบการเมืองขึ้นมาใหม่ และถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะเอาชนะกันได้ก็อาจจะถึงกับแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน 3 ส่วน ของหน่วยชุมชนหรือหน่วยการเมืองใหม่

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรุณา มธุลาภรังสรรค์. (2560) ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. สมุทรสาคร : ยุ้ย COPY.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. (2542). ความขัดแย้งในสังคมไทยยุควิกฤติเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : คบไฟ.

ทศพร ท่องเที่ยว. (2546) การเรียนรู้สู่การทำแผนงานและสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.

ธนยศ ชวะนิตย์. (2559). การขัดกันแห่งผลประโยชน์Conflict of Interest: COI . สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561 จาก ww.ojs.mcu.ac.th/index.php/socdev/article/download/1656/1297

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ.

เมธี ครองแก้ว. (2551). ผลประโยชน์ส่วนบุคคลจากความสูญเสียส่วนรวม: การรับมือกับการทุจริตจากผลประโยชน์ทับซ้อนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 1(1), 1-15.

สถาบันวิถีทรรศน์มูลนิธิวิถีทรรศน์. (2546). ธรรมาภิบาลกับคอร์รัปชั่นในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).