การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

พิชญาภรณ์ เพิ่มพูล
ทินกร พูลพุฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.ศึกษาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา2.ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา3.ศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาและ4.สร้างสมการพยากรณ์การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถทำนายประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 317 คน จากการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาและวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม พบว่า แบบสอบถามมีดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) อยู่ที่ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า
          1.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการบริหารจัดการ (X1) ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู (X3) ด้านการเรียนการสอน (X4) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้


          gif.latex?\hat{Y}=&space;1.76+0.46&space;(X1)&space;+&space;0.31&space;(X3)&space;+&space;0.16&space;(X4)

Article Details

How to Cite
เพิ่มพูล พ., & พูลพุฒ ท. (2022). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/259563
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน แนบท้ายประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ (6 สิงหาคม พ.ศ. 2561). ประกาศ. ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561 หน้า 1-4.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). คู่มืออบรมปฏิบัติการบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์ พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน หน่วยที่ภาพอนาคตการศึกษาไทย: สู่การศึกษาภควันตภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เชษฏพร ปิติพล. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยี สยามบริหารธุรกิจนนทบุรี. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจนนทบุรี.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธิษตยา ภิระบัน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต). พะเยา,มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ พิริยศิลป์. (2559). องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศันสนีย์ พรมพินิจ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี

สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562 (รายงานผล). นครสวรรค์: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์. (2562). รายงานการจัดทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. (รายงานผล). นครสวรรค์: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์.