ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

李清雅

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากงานประจำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เป็นการวิจัยเชิงประมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 488 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) แบบเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนด กลุ่มตัวอย่าง 20 เท่า ต่อ 1 ตัวแปร ได้กลุ่มตัวอย่าง 300 คน ซึ่งเป็นบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ประจำสำนักงาน และคณะต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต         ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อให้ได้เมตริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โมเดล โดยใช้สถิติ Path Analysis โดยใช้โปรแกรม Amos ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม วัฒนธรรมการเรียนรู้ และการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมจากงานประจำส่งผลทางตรงต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม และส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ส่งผลมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
李清雅. (2023). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(2), 23–36. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/269609
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ เมืองเจริญ และประสพชัย พสุนนท์. (2562). การสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการทำงานที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานร้านสะดวกซื้อใน

เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ 6(2), 73-78.

นัฐกานต์ ฐิติจำเริญพร และ กัลยกิตติ์ กีรติอังกูร.(2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์การธุรกิจของ บริษัทโตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิ

เนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด. Veridian E-journal, 11(2), 651-669.

นิตยา มั่นชำนาญ, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์, และ สุขุม มูลเมือง. (2555). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะ

กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 31-44.

ปัญญา เลิศไกร, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์, ลัญจกร นิลกาญจน์,และ กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2562).การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร, วารสารมหาจุฬานาครทร

รศน์, 6(8), 3745-3757.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ, วารสารวิจัยวิชาการ, มหาวิทยาลัยรัตน บัณฑิตกรุงเทพฯ, 2 (2),121-134.

ศิวะนันท์ ศิวะพิทักษ์ . (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมของพนักงาน, หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Amabile, T. M., Conti, R, Coon, Heather, C., Lazenby, J., & Herron, M. (1996). Assessing the work environment for creativity. Academy of

Management Journal, 39(5), 1154-1184.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1996). The transformation and transactional leadership of men and woman. Applied Psychology: An International Reviews, 45(1), 5-35.

Boonyam, T., Chuawanlee, W., Supparerkchaisakul, N., & Anurit, P. (2011). The Multi-Level Causal Factors Influencing Individual and Group Innovative Behavior for MakingProduct Innovations in Thai Private Companies. Journal of Behavioral Science Vol, 17(2).

Boyett, J. H. (2006). Transformational leadership: The highly effective leader/ follower relationship. The Science of Leadership, 1-9.

De Jong, J. P., & Den Hartog, D. N. (2008). Innovative work behavior: Measurement and validation. EIM Business and Policy Research,

(1), 1-27.

Ekvall, G., & Ryhammar, L. (1999). The creative climate: Its determinants and effects at a Swedish university. Creativity research

journal,12(4), 303-310.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis: Pearson new international edition. Essex: Pearson

Education Limited, 1(2).

Hoy, K. W., & Miskel, G., C. (2001). Educational administration: Theory, research, and Practice (6th ed.) Singapore: McGraw-Hill.

Janssen, O. (2000). Job demands, perceptions of effort-reward fairness and innovative work behavior, Journal of Occupational and

Organizational Psychology 73(3), 287 – 302.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Strategic learning & the balanced scorecard. Strategy & Leadership, 24(5), 18-24.

Senge, P.M., Kleineer, A., Roberts, C., Roos, R. B. , & Smith, B.J. (1994). The fifth discipline fieldbook: Strategies and tools for building a

learning organization. New York: Doubleday Dell Publishing Group, Inc.

West, M. A., & Wallace, M. (1991). Innovation in health care teams. European Journal of social psychology, 21(4), 303-315.