การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต

Main Article Content

ธัญยธรณ์ ศิริสินอภิรัฐ
กฤษฎิ์ กิตติฐานัส
วิเชียร อินทรสมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2. ระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3. ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 321 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความยึดมั่นผูกพัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน 2. ระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประชาสัมพันธ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงานเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.25

Article Details

How to Cite
ศิริสินอภิรัฐ ธ., กิตติฐานัส ก., & อินทรสมพันธ์ ว. (2024). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต . วารสาร สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 15(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/273438
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ เพชรทัต. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2554). ประมวลผลสาระวิชาชุด ประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่4).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน .VeridianE-Journal,Silpakorn Universit ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1342 - 1354.

ดอกบัว เรืองเดช. (2559). การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มเครือข่ายพระยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 2

(ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสและดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 299 -313.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2547 . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี. ประจำคณะศึกษาศาสตร์ งานบริการการศึกษา. (2564). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ศษ112 พันธกิจความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาและชุมชน ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Intarasompun, W., Muangnual, P., and Punchatree, N. (2022). Active Learning Management and Using E-Portfolio as Authentic Assessment for Teacher Students. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 13(2), 108–118.

Swansburg, R. C. (1996). Management and leadership for nurse managers. Jones & Bartlett Learning.

Tosati, S. ., Sitthisopasakul, T., and Intarasompun, W. . (2021). Enhancing Learning Process by Integrating Contemplative Education Coaching System and Research Base Learning (Ccr) to Strengthen Teacher’s Competencies in Educational Measurement Evaluation and Research Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 124–137.

Intarasompan, W. (2021). A quality in education of lower central network school with coaching and mentoring pass online system. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (TURCOMAT), 12(8), 2586-2594.