การประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ หลักสูตรผู้กำกับลูกเสือสำรองขั้นความรู้เบื้องต้น ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้น ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรทางการลูกเสือซึ่งใช้หลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้น ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2566 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านลูกเสือจำนวน 5 คน ผู้ให้การฝึกอบรม 20 คน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 201 คน และผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด มีค่าความเชื่อมั่น 0.80 ขึ้นไป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติแบบร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( )และค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบท ในความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้ให้และผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก 3. ด้านกระบวนการ ตามความเห็นของผู้ให้และผู้เข้าการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก และ 4. ด้านผลผลิต ตามความเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชมพูนุช ทองภู (2563). การประเมินหลักสูตรบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตละออ
อุทิศ นครนายก โดยใช้รูปแบบซิป. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน) คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, จังหวัดปทุมธานี
วิลาส นพเก้า. (2557). การประเมินหลักสูตรลูกเสือสามัญ ชั้นลูกเสือเอก ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 2. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 20(1), 202-217.
ไพศาล หวังพานิช. (2562). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ. (2556). ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการฝึกอบรมบุคลาการทางการลูกเสือ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Mahshid, A. (2015). The Evaluation of Reproductive Health Ph.D Program in Iran: A CIPP Model Approach. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 197(25), 61-91.