การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอยในโซ่อุปทานของกระบวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านเคมีคลินิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสูญเปล่าจากการรอคอยส่งผลให้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านเคมีคลินิกมีความล่าช้า ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่าและสาเหตุของความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอยในโซ่อุปทานของกระบวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านเคมีคลินิกภายใต้ระบบ IDEF และ MOPH 4.0 เพื่อเสนอแนวทางการลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นโดยศึกษาจากกรณีของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องได้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในงานเทคนิคการแพทย์ จำนวน15คน ผลการศึกษาพบว่าจากการใช้เครื่องมือ IDEF และ MOPH 4.0 มาวิเคราะห์พบความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอย 2กิจกรรมคือ รอพิมพ์ผลการตรวจและรอมารับผลการตรวจ และนำแนวคิด How-How decision วิเคราะห์หาสาเหตุของความสูญเปล่าพบสาเหตุทั้งหมด 7 สาเหตุ นำเอาหลักการ ECRS และMOPH 4.0 มาช่วยเสนอแนวทางการลดความสูญเปล่าจากการอคอย โดยการตัดกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่าออกและนำเอาโปรแกรมซอฟต์แวร์มาช่วยทำให้ระบบการรายงานผลการตรวจง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น ส่งผลให้สามารถลดขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆในกระบวนการจาก 10 กิจกรรมเหลือเพียง 8 กิจกรรม เวลาที่ใช้ทั้งหมด เดิมคือ 70 นาที เหลือ 41 นาที และคาดว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20,290 บาทต่อปี
Article Details
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated. Please read our Policies page for more information...
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2560. การจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0 ด้านสาธารณสุข (MOPH4.0).(Online).http://bps.moph.go.th/new_bps/node/141, 3 มิถุนายน 2561.
พันธิภา พิญญะคุณ, อารี ชีวเกษมสุขและเพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 18, 280-290.
รัตนพร แจ้งเรื่อง และวัชรพจน์ ทรัพย์แสวงบุญ. (2556). การวิเคราะห์ความสูญเปล่าในโซ่อุปทานค้าปลีกด้วยผักกระบวนการทางธุรกิจภายใต้ระบบIntegrationDefinitionfor Function Modeling (IDEF). วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 17(2), 72-87.
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย–ญี่ปุ่น). (2556). Lean Production. (Online).http://www.tpa.or.th/shindan/detail.php?page=lean,18 มิถุนายน 2561.
แสงระวี รุ่งวิถี และ ปณัทพร เรืองเชิงชุม. 2560. “แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังของร้านขายยา CDEในจังหวัดขอนแก่น”. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ 11(15), 46-62.
อุไรวรรณวรรณศิริ. (2559). การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนกับภาคบริการทางการแพทย์เพื่อลดความสูญเปล่าของระบบกรณีศึกษาแผนกรังสีรักษาโรงพยาบาลตติยภูมิ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(3),
Heizer, J. H. & Render, B. (2014).Principles Management Sustainability and Supply Chain Management: Global Edition. (11thed.).United States: Pearson Education.
Holden, R. J. (2011). Lean thinking in emergency departments: a critical review. Annals of
emergency medicine, 57(3), 265-278.
The limitations of root cause analysis. (2012). Limitations of root cause analysis. Retrieved July 13, 2018, from http://www.mosaicprojects.worldpress.com/2012/10/the-limitations-of-root-cause-analysis.
White, B. A., Baron, J. M., Dighe, A. S., Camargo, C. A., & Brown, D. F. (2015). Applying Lean methodologies reduces ED laboratory turnaround times. The American journal of emergency medicine, 33(11), 1572-1576.