ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และความสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

สุภกร ตันวราวุฒิชัย
บุญไทย แก้วขันตี

บทคัดย่อ

                          ภาคธุรกิจมีความจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยการตลาดแบบและสื่อโฆษณา และความสามารถ ด้านโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและพัฒนาช่องทางการขายให้มีประสิทธิภาพ จนเกิดผลสำเร็จในการทำธุรกิจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัลและสื่อโฆษณา และความสามารถด้านโลจิสติกส์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัลและสื่อโฆษณา และความสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการสั่งจอง/สั่งซื้อสินค้า หรือบริการผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กูเกิลฟอร์ม (Google Form) โดยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Network) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 211 คน มีอายุ 31 – 40 ปี สถานภาพโสด การศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 25,001 บาท 2) การตลาดดิจิทัลและสื่อโฆษณา ผลการศึกษาพบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสามารถด้านโลจิสติกส์ผลการศึกษาพบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก 4) การตัดสินใจซื้อ ผลการศึกษาพบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดแบบดิจิทัล
ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเลือกซื้อของลูกค้าในปัจจุบัน และสามารถนาผลวิจัยที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการตลาด เลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดให้ตรงกับเป้าหมาย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

Article Details

How to Cite
ตันวราวุฒิชัย ส., & แก้วขันตี บ. . (2021). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และความสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 23–40. https://doi.org/10.14456/kab.2021.2
บท
Research article

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรม
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร. กฤษฎ์ ฉันทจิรพร. (2562). โลจิสติกส์ (Logistics) และโซ่อุปทาน (Supply Chain) คืออะไร?. วารสารของ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 61(4), 11-12.
ชัชวาล โคสี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.
ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2562). Digital Marketing 6th Edition : Concept & Case Study (Update 2019-2020).
นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์, บจก.
มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ เวทยา ใฝ่ใจดี และปรียากมล เอื้องอ้าย. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อยกระดับ ความสามารถทางการแข่งขันองค์กร กรณีศึกษา ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารเกษตรศาสตร์
ธุรกิจประยุกต์. 14(20), 25-44.
สาธิยา เขื่อนคำ. (2562). ผู้ค้าจีนรุ่นใหม่กับการขยายอิทธิพลทางการค้าอีคอมเมิร์ซ : กรณีผู้ค้าจีนรายย่อย
ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพัฒนาสังคม. 21(2), 119 - 139.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปจำนวนประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต (จำแนกตามอายุ กิจกรรมที่ใช้). สืบค้นเมื่อ
พฤษภาคม 1, 2563, จาก http://164.115.22.198/nso/phpview.php?folder=uploads
/ICT/File/&partfile=Data_16020200_0401.xlsx.
สุทธิชัย เกศยานนท์. (2558). การนำเสนอตัวตนต่อสังคม การมีปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม
ประสบการณ์ที่ดี และการสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
ซื้อสินค้าและบริการในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. อภิวิทย์ ยั่งยืนสถาพร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ห้องบันทึกเสียงสร้างมูลค่าสำหรับมัลติมีเดีย และงานตัดต่อ. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.