ความสัมพันธ์ระหว่างการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ คุณลักษณะบุคลิกภาพและการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

Main Article Content

Thanyamai Rungpiriyadech
Komkrit Singjai

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบุคลิกภาพ การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชีของนิสิตสาขาวิชาการบัญชีที่กำลังจะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ผลการศึกษาพบว่า (1) การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม และแบบมีมโนสำนึก และไม่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (2) บุคลิกภาพแบบมีมโนสำนึกมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชี ในขณะที่บุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม แบบหวั่นไหว และแบบเปิดรับประสบการณ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชี (3) การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชี จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบุคลิกภาพ การสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชี ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการชี้แนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนบัญชีให้เหมาะสมและทำให้อาจารย์ผู้สอนสามารถส่งเสริมนิสิตให้มีความพร้อมที่ทำงานเป็นผู้สอบบัญชีได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังช่วยให้อาจารย์ผู้สอนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการให้คำปรึกษาแก่นิสิตเพื่อพิจารณาความเหมาะของตนเองในการทำงานในสายงานสอบบัญชีต่อไปด้วย


 

Article Details

How to Cite
Rungpiriyadech, T., & Singjai, K. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ คุณลักษณะบุคลิกภาพและการปรับตัวตามความคาดหวังของวิชาชีพสอบบัญชีของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 1–22. https://doi.org/10.14456/kab.2021.1
บท
Research article

References

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์ (2559). ลักษณะทางประชากรศาสตร์กับการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(35), 5-20.
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ และณัฐพงษ์ ธรรมรักษาสิทธิ์. (2558). การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กระบวนการพัฒนา สู่ความเป็นมืออาชีพในชีวิตการท างาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 193-205.
ไพลิน ตรงเมธีรัตน์ และ นวพร พวงมณี (2557). ว่าด้วยความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 10(27), 78-85.
วรวิทย์ เลาหะเมทนี พัชรินทร์ สารมาท และภานุมาศ แสงประเสริฐ (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างค่านิยมส่วนบุคคล กับการใช้วิจารณญาณในการสังเกตเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของนักศึกษาการบัญชี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 22(1), 153-1471.
วรวิทย์ เลาหะเมทนี โสภิดา สัมปัตติกร และวรีวรรณ เจริญรูป (2561). การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ ความยึดมั่นในวิชาชีพ ความเชื่อด้านจริยธรรม และความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของนักศึกษาการบัญชี, 24(1), 23-46.
สภาวิชาชีพบัญชี (2555). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 200 วัตถุประสงค์โดยรวมของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี เข้าถึงออนไลน์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/pniXNXO4Sw.pdf
Clikeman, P. M., & Henning, S. L. (2000). The Socialization of Undergraduate Accounting Students. Issues in Accounting Education, 15(1), 1-17. doi:10.2308/iace.2000.15.1.1
Costa, P. T., & McCrae, R. R. (1992). Four ways five factors are basic. Personality and Individual Differences, 13(6), 653-665.
Donnellan, M. B., Oswald, F. L., Baird, B. M., & Lucas, R. E. (2006). The Mini-IPIP Scales: Tiny-yet-effective measures of the Big Five Factors of Personality. Psychological Assessment, 18(2), 192-203. doi:10.1037/1040-3590.18.2.192
Elias, R. Z. (2007). The relationship between auditing students' anticipatory socialization and their professional commitment. Academy of Educational Leadership Journal, 11(1), 81.
Farag, M. S., & Elias, R. Z. (2016). The relationship between accounting students’ personality, professional skepticism and anticipatory socialization. Accounting Education, 25(2), 124-138. doi:10.1080/09639284.2015.1118639
French, J. R. P., Jr., Rodgers, W. L., & Cobb, S. (1974). Adjustment as person environment fit. G. Coelho, D. Hamburg, & J. Adams (Eds.), Coping and adaptation, 316-333.
Humphrey, N., Curran, A., Morris, E., Farrell, P., & Woods, K. (2007). Emotional intelligence and education: A critical review. Educational Psychology, 27(2), 235-254.
Hurtt, R. K. (2010). Development of a Scale to Measure Professional Skepticism. Auditing: A Journal of Practice & Theory, 29(1), 149-171. doi:10.2308/aud.2010.29.1.149
Hurtt, R. K., Brown-Liburd, H., Earley, C. E., & Krishnamoorthy, G. (2013). Research on Auditor Professional Skepticism: Literature Synthesis and Opportunities for Future Research. AUDITING: A Journal of Practice & Theory, 32(Supplement 1), 45-97. doi:10.2308/ajpt-50361
Nelson, M. W. (2009). A Model and Literature Review of Professional Skepticism in Auditing. AUDITING: A Journal of Practice & Theory, 28(2), 1-34. doi:10.2308/aud.2009.28.2.1
Pacini, R., & Epstein, S. (1999). The Relation of Rational and Experiential Information Processing Styles to Personality, Basic Beliefs, and the Ratio-Bias Phenomenon. Journal of Personality and Social Psychology, 76(6). doi:10.1037//0022-3514.76.6.972