ผลกระทบจากการประกาศเงินปันผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของ หลักทรัพย์: กรณีศึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐพล มะลิซ้อน
อริชัย รักธรรม
ทรงพร หาญสันติ

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการประกาศจ่ายเงินปันผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นทำการเก็บข้อมูลบริษัทที่มีข้อมูลการซื้อขายที่ครบถ้วน และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาในครั้งนี้จะทำการศึกษาในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – 2561 โดยมีการประกาศจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 442 ครั้งจากบริษัททั้งหมด 67 บริษัท โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองตลาดร่วมกับการใช้การศึกษาเหตุการณ์ซึ่งได้ทำการกำหนดช่วงเกิดเหตุการณ์เป็น วันก่อนและหลังวันเกิดเหตุการณ์การประกาศจ่ายเงินปันผล20 วัน รวมเป็นช่วงเกิดเหตุการณ์ทั้งหมด 41 วัน เพื่อทำการหาผลตอบแทนผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการประกาศจ่ายเงินปันผล โดยได้ทำการแบ่งกลุ่มการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. หลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่ม SET100 2. หลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่ม SETHD ผลจากการศึกษาที่ได้พบว่า ในทั้งสองกลุ่มตัวอย่างให้ผลการศึกษาที่เหมือนกันคือ การประกาศจ่ายเงินปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ แต่เมื่อดูถึงผลตอบแทน ผิดปกติเฉลี่ยรายวัน ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างก็จะพบว่า ในวันที่เกิดเหตุการณ์การประกาศจ่ายเงินปันผลนั้นมีผลตอบแทนผิดปกติเกิดขึ้นมากที่สุด และในด้านการเปรียบเทียบผลกระทบรายวันที่เกิดขึ้นพบว่าในวันที่เกิดเหตุกาณ์ หลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่ม SETHD นั้นมีผลตอบแทนผิดปกติสูงกว่าหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่ม SET100

Article Details

บท
Research article

References

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา. (2554). ความสัมพันธ์ของการเปลยี่ นแปลงเงนิ ปนผลกบั ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของบริษัทท่จี ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.
นนทวัชร์ อนุสรณ์พาณิช. (2548). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผล.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
บุลพร วุฒิวาณิชยกุล. (2559). หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับ Post-Earnings Announcement Driftกรณีศึกษาหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
พิชญา ปัญญาธนกุล. (2559). การประกาศจ่ายเงินปันผลสามารถลดผลกระทบด้านลบจากการออกหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้หรือไม่กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2548). การบริหารกล่มุสินทรัพย์ลงทุนทฤษฎีตลาดทุน (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
สุนีย์นุช สมพรลาภ. (2549). ผลกระทบของการประกาศจ่ายเงินปันผลต่ออัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติของ หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
อภิญญา อารมณ์ชื่น. (2550). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์จากการประกาศเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 1(1), 27-36.
อัจฉริยา รามวงศ์. (2553). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์จากการประกาศจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
เอกพัฒน์ ชัยศรีรัตนกุล. (2555). การศึกษาผลจากการจ่ายเงินปันผลที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม.(วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
Berezinets, I.V., Bulatova, L. A., Ilina.,Y. B., &Smirnov, M.V.(2018). Reactions of emeringstock markets to dividend announcementsduring economic growth: Evidencefrom India and Russia. EurasianEconomic Review, 9, 71-89.
doi: 10.1007/s40822-018- 0111-7
Brigham, E.F., & Ehrhardt, M.C. (2014). Financial management: Theory and practice. Singapore: Cengage learning.
Dasilas, A., Lyroudi, K., & Ginoglou, D. (2008). Joint effects of interim dividend and earnings announcements in Greece.Studies in Economics and Finance, 25(4), 212-232.
Fama, F.E. (1970). Efficient capital markets: A review of theory and empirical work. Journal of Finance, 25(2), 383-417.
Fama, F.E. (1991). Efficient capital markets: II. Journal of Finance, 47(5), 1575-1617.
Felimban, R., Floros, C., & Nguyen, A. (2017). The impact of dividend announcements on hare price and trading volume: empirical evidence from the gulf cooperation council (GCC) countries. Journal of Economic Studies, 45(2), 210-230.
doi: 10.1108/JES-03-2017-0069
Gordon, M.J. (1963). Optimal investment and financing policy. Journal of Finance, 18(2), 264-272.
Khanal, A.R., & Mishra, A.K. (2017). Stock price reactions to stock dividend announcement: A case form sluggish economic period. The North American Journal of Economics and Finance, 42(c), 338-345.
Litner, J. (1962). Dividends, Earnings, Leverage, Stock Prices, and the Supply of Capital to Corporations. Review of Economics and Statistics, 44(3), 243-269.
Lonie, A.A., Abeyratna, G., Power, D.M., & Sinclair, C.D. (1996). The stock market reaction to dividend announcement: A UK study of complex market signals. Journal of Economic Studies, 23(1), 32-52.
Nissim, D., & Ziv, A. (2001). Dividend change and future profitability. The Journal of Finance, 56(6), 2111-2133.
Rabbani, N. (2017). The announcement effect of cash dividend changes on share prices: Evidence from dhaka stock exchange. Review of Pacific Basin Financial Market and Policies, 20(4), 1-19.
Wasim, K., & Basiem, K. (2017). The relationship between cumulative abnormal return and earnings: Evidence from emerging market. The Journal of Developing Areas, 51(2), 357-368.