พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยก่อนและหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

Main Article Content

ธนากร ลิขิตาภิวัฒน์
ณัตติฤดี เจริญรักษ์
นวัต วรรณแสงทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสลากฯ และหวยในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้เหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 เป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ รวมถึงศึกษาระดับของอคติด้านอัตราส่วนของผู้ซื้อสลากฯ และหวยโดยเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ซื้อสลากฯ และหวย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช่ความน่าจะเป็น (non-probability sampling) และมีจำนวนข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย 386 คน จากผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่เป็นผู้ที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวย และกลุ่มที่ซื้อสลากฯ เพียงอย่างเดียวมีพฤติกรรมที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวยไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแม้จะเป็นช่วงหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว ในขณะที่ผู้ที่ซื้อสลากฯ เพียงอย่างเดียวมีแนวโน้มที่จะลดการซื้อลงหรือเลิกซื้อไปในที่สุด นอกจากนั้นผู้วิจัยทำการวัดอคติด้านอัตราส่วน (ratio bias) ซึ่งชี้ว่าคนทั่วไปมีความเข้าใจผิดว่าอัตราส่วนที่ใช้ตัวเลขที่สูงจะมีค่ามากกว่าตัวเลขที่ต่ำ เช่น 9/100 มากกว่า 1/10 ซึ่งในการวิจัยนี้ พบว่า กลุ่มที่ซื้อทั้งสลากฯ และหวยมีอคติสูงที่สุดตามด้วยกลุ่มที่ไม่ได้ซื้อสลากฯ และหวย ผู้ซื้อสลากฯ อย่างเดียวมีคะแนนอคติต่ำกว่ากลุ่มอื่นแสดงว่าผู้ที่เสี่ยงโชคโดยการซื้อสลากฯ หรือหวยนั้นไม่ได้เป็นผู้ที่มีอคติด้านอัตราส่วนสูงกว่าคนทั่วไป จากการวิเคราะห์สมการถดถอย ระดับของอคติไม่ได้มีผลทำให้ซื้อสลากฯ น้อยลงในสถานการณ์ของโควิด-19 แต่เป็นปัจจัยที่เกิดจากรายได้ลดลงและปัจจัยเฉพาะกลุ่มที่ซื้อสลากฯ อย่างเดียวเท่านั้น

Article Details

How to Cite
ลิขิตาภิวัฒน์ ธ., เจริญรักษ์ ณ., & วรรณแสงทอง น. (2023). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยก่อนและหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 17(27), 120–147. https://doi.org/10.14456/kab.2023.12
บท
Research article

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบความต้องการการช่วยเหลือและการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 266-286.

กมลวรรณ วรรณธนัง และ สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2564). การศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(2), 85-98.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ลอตเตอรี่. https://www.bangkokbiznews.com/category/lifestyle/lottery

คอหวยกวาดเลข ‘แตงโม’ เกลี้ยงแผง. (2565, 1 มีนาคม). มติชน ออนไลน์. https://www.matichon.co.th/region/news_3209102

จิราพัชร สุทธิ. (2562). ความสัมพันธ์ของลักษณะเฉพาะบุคคลกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเล่นหวยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตจังหวัดปทุมธานีและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการซื้อหวยเป็นเงินออมในระยะยาว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2).

ชื่นสุมล บุนนาค และ วสันต์ เจนร่วมจิต. (2561). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มเจนเนอเรชั่น B, X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 103-122.

ฐิติมน สื่อเสาวลักษณ์. (2556). พฤติกรรมการซื้อหวยใต้ดินของประชาชนในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00226206

ณัฐจารี กองสา. (2565). ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยของผู้ค้าอาหารในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ในช่วง พ.ศ. 2563-2564. สาระศาสตร์ (2/2565), 332-344.

ดวงกมล ดีพันธ์. (2557). หวยใต้ดินในสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb2tmp.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9475/1/387826.pdf

ไทยรัฐ ออนไลน์. (ม.ป.ป.). ถูกรางวัลที่1. https://www.thairath.co.th/tags/ถูกรางวัลที่1

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI). https://www.bot.or.th/th/thai-economy/econ-publication/bsi-business-sentiment-index.html

ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ และ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2557). บทบาทของความเชื่อโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1348-1361.

นพนันท์ วรรณเทพสกุล. (2554). เศรษฐกิจหวยใต้ดิน: มุมมองการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทยผ่านธุรกิจการพนัน. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). https://www.gamblingstudy-th.org/document_research/23/1/4/lottorevolution/

นันธิชา ขอแช่มกลาง, ฌานนพ สืบลีลา และ สําราญ บุญเจริญ. (2558). พฤติกรรมการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อหวยใต้ดินของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา [Poster presentation]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2, นครราชสีมา.

ผู้จัดการ ออนไลน์. (ม.ป.ป.). ถูกรางวัลที่1. https://mgronline.com/tags/ถูกรางวัลที่1

เผยโฉมดาราดวงปัง ถูกหวยงวด 16 ก.ย. ปังจริงยิ่งกว่ามงลง. (2564, 17 กรกฎาคม). คมชัดลึก ออนไลน์. https://www.komchadluek.net/entertainment/484094

พระราชบัญญัติการพะนัน พุทธศักราช 2478. (2478, 20 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 52 หน้า 1978-1990. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/1978.PDF

พรเพ็ญ วรสิทธา. (2557). ความเป็นไปได้ในการแปลงเงินหวยเป็นเงินออม: กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA Development Journal, 54(1), 49-76.

พสุนิต สารมาศ. (2545). ชีวิตนักเสี่ยงโชคจากตัวเลข กรณีศึกษาคนเล่นหวยใต้ดิน [วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/ dc:116504

แพรพรรณ คำนวน และ จรัญญา ปานเจริญ. (2564). การเปรียบเทียบการวางแผนทางการเงิน ก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิดของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(2), 35-49.

ภาคภูมิ จตุพิธพรจันทร์. (2564). “ลอตเตอรี่” โอกาสหรืออุปสรรคต่อการออมของคนจน?. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2021/04/lottery-the-expected-utility/

มาให้โชคคอหวย! เลขทะเบียนรถ ‘บิ๊กตู่’ งวด 1 ก.ค. ลงพื้นที่เชียงใหม่. (2565, 29 มิถุนายน). เดลินิวส์ ออนไลน์. https://www.dailynews.co.th/news/1197066/

วนิดา ศรีเหนี่ยง และ ธนภูมิ อติเวทิน. (2558). มูลเหตุและผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมระดับปฏิบัติการในจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 84-99.

วิเชียร มันแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน และ กรกฏ จำเนียร. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 327-340.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ. (2562, เมษายน 26). EIC Data Infographic: คนจนเล่นหวย คนรวยเก็บออม. https://www.scbeic.com/th/detail/product/5723

สนุกดอทคอม.(2563). รวมดาราคนดังถูกหวยบ่อย ดวงเฮงรับทรัพย์แทบทุกงวด. https://www.sanook.com/news/8067846/

สังศิต พิริยะรังสรรค์, เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และ นพดล กรรณิกา. (2550). โครงการสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนเกี่ยวกับการพนันในสังคมไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ. ศูนย์วิจัยเอแบคฯ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 109-122. https://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext55/55875_0001.PDF

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะเศรษฐกิจในประเทศรายไตรมาส. https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=qgdp_page

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (ม.ป.ป.). การนำส่งรายได้แผ่นดิน. https://www.glo.or.th/about/performance/ revenue-export

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2550). รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง ปัญหาการจำหน่ายสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัว (สลากกินรวบ). https://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext55/55875_0001.PDF

สโรชา พิมพ์ชัย. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเล่นเสี่ยงโชค กรณี สลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากล็อตโต้ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:126746

หวย ไม่ถูกรางวัล แลกรับส่วนลดที่ไหนได้บ้าง? เช็กเลย. (2564, 16 กุมภาพันธ์). ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. https://www.prachachat.net/marketing/news-614324

ห้างดัง ปลอบใจคนถูกหวยกิน จัดโปรนำสลากฯ แลกส่วนลดได้ 80 บาท. (2564, 18 มกราคม). มติชน ออนไลน์. https://www.matichon.co.th/economy/news_2534237

อิสรีย์ ภักดิ์ศรีแพง และ รัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2561). หวยใต้ดิน: ความมั่นคงทางรายได้ของประเทศไทย. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(1), 82-96.

Alonso D., & Fernandez-Berrocal, P. (2003). Irrational decisions: Attending to numbers rather than ratios. Personality and Individual Differences, 35(7), 1537–1547. https://doi.org/10.1016/S0191-8869(02)00368-9

Ariyabuddhiphongs, V. (2011). Lottery gambling: A review. Journal of Gambling Studies, 27, 15-33. https://doi.org/10.1007/s10899-010-9194-0

Ariyabuddhiphongs, V., & Phengphol, V. (2008). Near Miss, Gambler’s Fallacy and Entrapment: Their Influence on Lottery Gamblers in Thailand. Journal of Gambling Studies, 24, 295–305. https://doi.org/10.1007/s10899-008-9098-4

Baboushkin, H. R., Hardoon, K. K., Derevensky, J. L., & Gupta, R. (2001). Underlying Cognitions in Gambling Behavior Among University Students. Journal of Applied Social Psychology, 31(7), 1409-1430. https://doi.org/10.1111/j.1559-1816.2001.tb02680.x

Beckert, J., & Lutter, M. (2013). Why the Poor Play the Lottery: Sociological Approaches to Explaining Class-based Lottery Play. Sociology, 47(6), 1152-1170. https://doi.org/10.1177/0038038512457854

Bourdin D., & Vetschera, R. (2018). Factors Influencing the Ratio Bias. EURO Journal on Decision Processes, 6(3-4), 321-342. https://doi.org/10.1007/s40070-018-0082-7

Burns, A. C., Gillett, P. L., Rubinstein, M., & Gentry, J. W. (1990). An exploratory study of lottery playing, gambling addiction and links to compulsive consumption. Advances in Consumer Research, 17, 298–305.

Callan, M. J., Ellard, J. H., Shead, N. W., & Hodgins, D. C. (2008). Gambling as a Search for Justice: Examining the Role of Personal Relative Deprivation in Gambling Urges and Gambling Behavior. Personality and Social Psychology Bulletin, 34(11), 1514-1529. https://doi.org/10.1177/0146167208322956

Cheng, Z., Smyth, R., & Sun, G. (2014). Participation and expenditure of migrants in the illegal lottery in China’s Pearl River Delta.Eurasian Geography and Economics, 55(4), 333-361. https://doi.org/10.1080/15387216.2014.994542

Chóliz, M. (2010). Cognitive Biases and Decision Making in Gambling. Psychological Reports, 107(1), 15-24. https://doi.org/10.2466/02.09.18.22.PR0.107.4.15-24

Clotfelter, C. T., & Cook, P. J. (1989). The Demand for Lottery Products. NBER Working Paper No. w2928. https://doi.org/10.3386/w2928

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (1st ed.). Lawrence Erlbaum.

Corney, W. J., & Cummings, W. T. (1985). Gambling Behavior and Information Processing Biases. Journal of Gambling Behavior, 1(2), 111-118. https://doi.org/10.1007/BF01019864

Dale, D., Rudski, J., Schwarz, A., & Smith, E. (2007). Innumeracy and incentives: A ratio bias experiment. Judgment and Decision Making, 2(4), 243 – 250. https://doi.org/10.1017/S1930297500000577

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149

Faustino, H., Kaiseler, M. J., & Marques, R. (2009). Why Do People Buy Lottery Products? [Unpublished working papers]. Lisbon School of Economics and Management.

Frisone, F., Alibrandi A., & Settineri, S. (2020). Problem gambling during Covid-19. Mediterranean Journal of Clinical Psychology, 8(3). https://doi.org/10.6092/2282-1619/mjcp-2457

Fu, H. N., Monson, E., & Otto, A. R. (2021). Relationships between socio-economic status and lottery gambling across lottery types: neighborhood-level evidence from a large city. Addiction, 116(5), 1256-1261. https://doi.org/10.1111/add.15252

George, D., & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and reference. 11.0 update (4th ed.). Allyn & Bacon.

Gigerenzer, G., & Hofrage, U. (1995). How to improve Bayesian reasoning without instruction: frequency formats. Psychological Review, 102(4), 684–704. https://doi.org/10.1037/0033-295X.102.4.684

Haisley, E., Mostafa, R., & Loewenstein, G. (2008). Myopic risk-seeking: The impact of narrow decision bracketing on lottery play. Journal of Risk and Uncertainty, 37, 57–75. https://doi.org/10.1007/s11166-008-9041-1

Hardoon, K. K., Baboushkin, H. R., Derevensky, J. L., & Gupta, R. (2001). Underlying cognitions in the selection of lottery tickets. Journal of Clinical Psychology, 57(6), 749–763. https://doi.org/10.1002/jclp.1047

Hofrage, U., Gigerenzer, G., Krauss, S., & Martignon, L. (2002). Representation facilitates reasoning: what natural frequencies are and what they are not. Cognition, 84(3), 343–352. https://doi.org/10.1016/s0010-0277(02)00050-1

Joukhador, J., Blaszczynski, A., & Maccallum, F. (2004). Superstitious Beliefs in Gambling Among Problem and Non-Problem Gamblers: Preliminary Data. Journal of Gambling Studies, 20(2), 171–180. https://doi.org/10.1023/B:JOGS.0000022308.27774.2b

Miyazaki, A. D., Langenderfer, J., & Sprott, D. E. (1999). Government-sponsored lotteries: Exploring purchase and nonpurchase motivations. Psychology & Marketing, 16(1), 1-20.

Ngamjan, P. (2018). Financial Literacy and Financial Behaviour in Thailand: A Pilot Test. Kasetsart Applied Business Journal, 10(13), 40–64.

Ohlert, C. R., & Weißenberger, B. E. (2015). Beating the Base-Rate Fallacy: an Experimental Approach on the Effectiveness of Different Information Presentation Formats. Journal of Management Control, 26(1), 51–80. https://doi.org/10.1007/s00187-015-0205-2

Passerini, G., Macchi, L., & Bagassi, M. (2012). A Methodological Approach to Ratio Bias. Judgment and Decision Making, 7(5), 602–617. https://doi.org/10.1017/S193029750000632X

Pravichai, S., & Ariyabuddhiphongs, V. (2015). Superstitious Beliefs and Problem Gambling Among Thai Lottery Gamblers: The Mediation Effects of Number Search and Gambling Intensity. Journal of Gambling Studies, 31(4), 1633-1649. https://doi.org/10.1007/s10899-014-9517-7

Rogers, P. (1998). The Cognitive Psychology of Lottery Gambling: A Theoretical Review. Journal of Gambling Studies, 14(2), 111–134. https://doi.org/10.1023/A:1023042708217

Valaskova, K., Durana, P., & Adamko, P. (2021). Changes in Consumers’ Purchase Patterns as a Consequence of the COVID-19 Pandemic. Mathematics, 9(15), 1788. https://doi.org/10.3390/math9151788

Wagner, A. F. (2020). What the Stock Market Tells Us about the Post-COVID-19 World. Nature Human Behaviour, 4(440). https://doi.org/10.1038/s41562-020-0869-y

Watanapongvanich, S., Binnagan, P., Putthinun, P., SaidurRahimKhan, M. & Kadoya, Y. (2021). Financial Literacy and Gambling Behavior: Evidence from Japan. Journal of Gambling Studies, 37, 445–465. https://doi.org/10.1007/s10899-020-09936-3

Wicklin, R., (2022, April 18). The McNemar test in SAS. SAS. https://blogs.sas.com/content/iml/2022/04/18/mcnemar-test-sas.html

Zenker, J., Wagener, A., & Vollmer, S. (2018). Better Knowledge Need Not Affect Behavior: A Randomized Evaluation of the Demand for Lottery Tickets in Rural Thailand. The World Bank Economic Review, 32(3), 570–583. https://doi.org/10.1093/wber/lhw060