การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • บรรจบ บุญจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กาญจนา ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กรกนก ธูปประสม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สรรฤดี ดีปู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จตุรงค์ ธนะสีลังกูร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วิราวรรณ์ ชาติบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ธนวัฒน์ ธิติธนานันท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พัทธนันท์ เกิดคง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • โสภิดา โคตรโนนกอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กฤษณา จินดาสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, การสอนงานและให้คำแนะนำ, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ศึกษาความสามารถในการสอนงาน ให้คำแนะนำของผู้บริหารสถานศึกษา และคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 เขต 3 เขต 4 เขต 5 เขต 6 เขต 7 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 รวมทั้งสิ้น 78 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการคูปองพัฒนาครู ปีงบประมาณ 2559 ในหลักสูตรการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการสอนงานและให้คำแนะนำ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ความสามารถในการสอนงานและให้คำแนะนำของผู้บริหารสถานศึกษา และคณาจารย์มหาวิทยาลัย จากการประเมินตนเอง และความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับ ความสามารถในการสอนงานและให้คำแนะนำของผู้บริหารสถานศึกษา และคณาจารย์มหาวิทยาลัย จากการประเมินโดยครูเป็นผู้ประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงสามารถยืนยันว่า หลักสูตรการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นำไปใช้ได้จริง ปฏิบัติได้จริงไม่ทิ้งห้องเรียนเป็นระบบที่พัฒนาครูไปพร้อมกับการทำงานตามปกติ โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในการสอนงาน และให้คำแนะนำ จึงควรส่งเสริมให้ครูและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้มีโอกาสไปใช้ในการพัฒนาครู และขยายผลสู่ครู และหน่วยงานทางการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป

References

กานต์ เนตรกลาง และคณะ. (2556). การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรจบ บุญจันทร์. (2557). การนิเทศการศึกษา. นครราชสีมา : เก่งการพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ประยุทธ ไทยธานี. (2559). “ประชุมเตรียมการวิทยากรพี่เลี้ยง.” ใน เอกสารประกอบการประชุมแผนงานการดำเนินโครงการคูปองพัฒนาครู ประจำปีงบประมาณ 2559. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประยุทธ ไทยธานี และ เจษฎา กิตติสุนทร. (2558). “แนวคิดการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.” ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการยกระดับและพัฒนาครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. หน้า 34-57. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). บัญชีแสดงปริมาณสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2559 จำแนกรายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา . (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แมทซ์พอยท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01