แนวคิด ตัวชี้วัด องค์ประกอบ บทเรียน และบูรณาการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

ผู้แต่ง

  • พระมหายุทธนา นรเชฏโฐ (ศิริวรรณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จุฑารัตน์ ทองอินจันทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวคิด, ตัวชี้วัด, องค์ประกอบ, การบูรณาการ, โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด ตัวชี้วัด และองค์ประกอบโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ทำการถอดบทเรียน และบูรณาการหลักการของศีล 5 ในการพัฒนามาตรฐานชีวิตของคนในสังคมไทย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ทำการเลือกกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นตัวแทนด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงใน 4 ภูมิภาค ๆ ละ 1 จังหวัด ๆ ละ 20 รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยให้ผู้ตอบคำถามเขียนตอบร่วมกับการสังเกตกับบุคคลสำคัญและการประชุมกลุ่มบุคคลสำคัญในพื้นที่การศึกษาวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปโดยใช้ทฤษฎี จำแนกข้อมูล จัดหมวดหมู่ ทำดัชนีข้อมูลร่วมกับการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ผลการศึกษา พบว่า การตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยการประยุกต์ใช้หลักการและแนวปฏิบัติตามศีล 5 ในทางพุทธศาสนาให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ตามตัวชี้วัดที่มีทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยมีองค์ประกอบคือ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับชาติ การถอดบทเรียนในแต่ละพื้นที่ พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างวัด ประชาชน และหน่วยงานของรัฐ การบูรณาการสามารถดำเนินการด้วยการเชื่อมโยงกิจกรรมที่เคยมีมาอยู่แล้วเข้ามาเป็นส่วนประกอบและใช้สถาบันหลักที่มีอยู่ในสังคมไทย คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้น ควรจัดทำเป็นวาระแห่งชาติเพื่อเกิดความตระหนัก พยายามแก้ไขปัญหาและพัฒนาความเป็นมนุษยธรรมของทุกคนในสังคมไทย

References

โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. (2561). รายงานผลโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โรงเรียนรักษาศีล 5 หน่วยงานรักษาศีล 5 ตามมติมหาเถรสมาคม. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2561, จาก www.Sila5.com/report/index/getRank2
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ (แซ่หลี). (2558). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ด้วยการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2558). การถอดบทเรียนการดำเนินงานหมู่บ้านศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัย. นครปฐม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคม การสร้าง การประเมินค่าและการใช้ประโยชน์. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : ส่วนการศึกษาสงเคราะห์ กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
_______. (2557). คู่มือการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01