การพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดภาระทางปัญญา (Cognitive load) ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • วิกานดา ชัยรัตน์ MAHASARAKHAM UNIVERSITY
  • รังสรรค์ โฉมยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.10

คำสำคัญ:

ภาระทางปัญญา, เครื่องมือวัดภาระทางปัญญา

บทคัดย่อ

   

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดภาระทางปัญญาของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยง และค่าอำนาจจำแนกของเครื่องมือวัดภาระทางปัญญา ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี มีจำนวน 1,522 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดภาระทางปัญญา มีจำนวนทั้งหมด 44 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ภาระภายใน เป็นความสามารถที่ประสาทรับข้อมูลมีเกินพัด องค์ประกอบที่ 2 ภาระภายนอก เป็นภาระที่หนักสมองซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการถ่ายทอดข้อมูลในการสอนของผู้สอน หรือความรู้สึกที่มีต่อวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาของผู้สอน รวมถึงวิธีการนำเสนอสื่อของผู้สอนที่ไม่เหมาะสม องค์ประกอบที่ 3 ภาระอัตโนมัติ เกิดจากภาระการเก็บรวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่เรียนและเข้าใจแล้วเข้าไว้ในประสาทเก็บข้อมูลถาวร

            ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของภาระทางปัญญา ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ เมื่อเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ ได้แก่ ด้านภาระภายนอก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ = 0.76 ด้านภาระภายใน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ = 0.74 ด้านภาระอัตโนมัติ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ = 0.67 โดยโมเดลโครงสร้างเชิงองค์ประกอบมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและดัชนีมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

            (X2=1.05, df=1, p-value=0.30, RMSEA =0.00, CFI=1.00, TLI=1.00, SRMR=0.27)

References

Jinwan, W. (2011). Apply to Cognitive Load Theory with design to instrument online. Journal of Vocational and Technical Education, 1(1), 19-24. (In Thai)

_______. (2013). A Web-Based Instruction Model with Cognitive Load Reduction Using Creative Problem Solving Techniques. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 4(2), 97-103. (In Thai)

Mahun, S. (2016). Management of teaching in higher education effectively. Journal of Southern Technology, 9(2), 169-176. (In Thai)

Rattanathongkom, S (2013). Characteristics of participants in higher education. Teaching document of Department of Physical Therapy 475788. Faculty of Associated Medical Science, Khon Kaen University. (In Thai)

Saraubon, K., & Piriyasurawong, P. (2014). Cognitive Load Reduction Media for Education in The Digital Age. Panyapiwat Journal digital age, 6(1),198-211. (In Thai)

Sweller J. (2010). Element Interactivity and Intrinsic, Extraneous and Germane Cognitive Load. Educational Psychology, 22(2), 123-138.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2012). Using Multivariate Statistics (5th ed.). Pearson Education. Inc.

Wannatong, K. (2012). Science Achievement, Cognitive Function and Creative Innovation of Students Learning with Neuro Science-base. North-Eastern Thai Journal, 8(2), 56-69. (In Thai)

Wattanathorn, J. (2016). The Role of Brain to Meditation, Motivation, Learning and Memory. Integrative Complementary Alternative Medicine. Retrieved April 3, 2016, from http:// www.icam.kku.ac.th (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite

ชัยรัตน์ ว., & โฉมยา ร. (2020). การพัฒนาโมเดลการวัดและเครื่องมือวัดภาระทางปัญญา (Cognitive load) ของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(1), 123–132. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.10