รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชุด ชีเทลส์... ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนกร สรรย์วราภิภู 0861924519

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.45

คำสำคัญ:

รูปแบบ, กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชุด ชีเทลส์...โดยใช้แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบวิจัยคุณภาพ โดยการสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ศึกษา ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์สู่การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ จากการศึกษาผู้ศึกษาได้พบรูปแบบการสร้างสรรค์การแสดง 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกแบบบทการแสดงแบ่งเป็นช่วงการแสดงตามช่วงอายุ การเจริญเติบโต การคัดเลือกนักแสดง นักแสดงหญิง 5 คน โดยผู้ศึกษาคัดเลือกจากความยาวของระดับเส้นผมที่ต้องมีความยาวเกินระดับหัวไหล่ การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ กระบวนการผ่านแนวคิดความเรียบง่าย การออกแบบเครื่องแต่งกาย รูปแบบเครื่องแต่งกายเพียงชิ้นเดียว ใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น สนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักเต้นเป็นสำคัญการออกแบบเสียงเลือกใช้เสียงสังเคราะห์ที่ให้ความรู้สึกถึงการเริ่มต้นสอดประสานกับโครงเรื่อง การออกแบบพื้นที่ การแสดง การแสดงชุดนี้มีความอิสระจากพื้นที่ในการนำเสนอ และการออกแบบแสง แสงจะไม่ได้มีผลต่อเนื้อหาการแสดงเป็นสำคัญ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการประเมินด้วยการส่งการแสดงชิ้นนี้เข้าสู่เทศกาลนาฏยศิลป์ในระดับนานาชาติพร้อมได้รับการคัดเลือกสู่เวทีการแสดงระดับนานาชาติ 3 ครั้งได้แก่ 8th SWU International Festival of Arts and Culture 2018, International Dance Festival 2018 และ Dance Xchange, The Philippines International Dance Festival อันเป็นแนวทางและประโยชน์ต่อการศึกษาการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ต่อไป

References

Buranajaroenkij, D. (2017). Feminist Philosophy and Social Movement of Women in Thailand: Analyzing People Related to the Proposal. Bangkok : Friedrich Ebert Stiftung. (In Thai)

Chamnanmor, D. (2014). The Dance Creation to Stop Violence on Women. A Thesis for Degree of Doctor of Fine and Applied Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Charassri, N. (2005). Western Dance History. Bangkok : Chulalongkorn Publishing. (In Thai)

_______. (Fuburary 21, 2017). Professor at Dance Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Chotimukta, Q. (2018). The Creation of Dance Reflecting Female’s Pressure Leading to Murder. Degree of Doctor in Fine and Applied Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Gehm, S., Husemann, P., & Wilcke, K. V. (eds.). (2003). Knowledge in Motion Perspective of Artistic and Scientific Research in Dance. North America : Transaction Publishers.

Joan S., & Betty D., (1988). DANCE THE ART OF PRODUCTION (3rd ed.). Hightstown, NJ : Princeton Book.

Mattayomnant, W. (2015). The Creation of Dance from Concept upon Narayana’s Reincarnations. Degree of Doctor of Fine and Applied Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Na Nakorn, T., Thamtai, P., Keawka, M., Keawsanit, R., Katepol R., Chairos S., & Chaiwan, S. (2002). Women and the Constitution: A Journey to Equality. Bangkok : P.Press Co.,Ltd. (In Thai)

Pinkaew, W. (2011). Postmodern Art Education Paradigm in Thailand. A Thesis for Doctor of Arts in Art and Culture Research, Srinakarinwirot University, Bangkok. (In Thai)

Sunvaraphiphu, T. (2017). The Creation of a Dance by The Vitruvian Man. A Thesis for Degree of Doctor in Fine and Applied Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Suwanthada, P. (2011). Mae Ploy and Feminism. Humanities & Social Sciences, 28(3), 51-72. (In Thai)

Tungcharoen, V. (2002). Post-Modernism : Post-Modern Art. Associate Member, the Academy of Arts, the Royal Institute. The Journal of the Royal Institute of Thailand, 27(2), 330-341. (In Thai)

Vudhaditya, V. (March 7, 2017). Miss. Academic. Interview. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

สรรย์วราภิภู ธ. (2019). รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชุด ชีเทลส์. ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 57–69. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.45