การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียง ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองจังหวัดสิงห์บุรี สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียง ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองจังหวัดสิงห์บุรี สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.24คำสำคัญ:
เครื่องจักสาน, ภูมิปัญญา, เศรษฐกิจสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียง ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่เน้นการเสริมพลังกัน และใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของ Deming จากประชากรเป้าหมาย 3 กลุ่ม ประกอบเป็นไตรพลังเพื่อการพัฒนา ได้แก่ 1) ผู้ทรงภูมิปัญญาการจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียงและผู้นำชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวม 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบรายการตามประเด็นหลักและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยมีแนวคิดสำคัญ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบลวดลายและสีสันให้มีความหลากหลาย มีประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างจากเดิม และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์และเหมาะสมกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญ คือ 1) สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียงสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมของภาคกลางให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ใช้ได้จริง และเป็นงานศิลปะที่ได้รับการออกแบบโดยการประยุกต์ศิลปะไทยเข้าไปในผลิตภัณฑ์ จนมีรูปแบบ รูปทรง ขนาด ลวดลายและสีสันเฉพาะ สามารถใช้เป็นผลงานศิลปะที่ใช้ตั้งแสดงที่แสดงถึงรสนิยมทางศิลปะของผู้ครอบครองด้วย โดยเป็นงานชิ้นเอกที่เป็นงานหัตถกรรมที่มีลักษณะเด่นเพียงชิ้นเดียวในโลก ได้จำนวน 2 ชุด จำนวน 17 ชิ้นงาน และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 1 แบบ
References
Buason, R. (2015). Quality Research in Education (5th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (in Thai)
Chaipinchana, P. (2017). Competitive Advanceage Strategy Concerning to Creative Economy of Ceramic Group in Chieng Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 5(3), 526-534. (in Thai)
Chanwanit, S. (2010). Quality Research (18th ed). Bangkok : Chulalongkorn University. (in Thai)
Howkins, J. (2002). The creative economy: How people make money from idea. Penguin : UK.
Jiankul, T. (2014). The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC]. Executive Journal, 34(1), 177-191. (in Thai)
Klabthong, J. (2019, 21 July). Adviser of Wickerwork Group, Ban Pakklongbangkapieng. Interview. (in Thai)
Klabthong, S. (2018, 27 May). President of Wickerwork Group, Ban Pakklongbangkapieng. Interview. (in Thai)
Laisattruklai, A. (2006). Creative Economy Mapping., New economic system. Brand Age Essential, 3, 22-23. (in Thai)
Patimaporntep, K., (2005). Research and development for solving local problem using local wisdom: a case study of Mai Riang Community, Chawang District, Nakhon Si Thammarat Province. In wisdom and community empowerment. Bangkok : Sirindhorn Anthropology Center (Public organization). (in Thai)
Pornpipat, P. (2006). Creative economy : New driving force of Thai economy. Journal of Economy and Society, 47(4), 6-12. (in Thai)
Sasong, C., & Wingwon, B. (2014). Creating Value-add Product and Service Toward Success of Ethnic Group Entrepreneurs in Maehongson Province, Thailand. International Journal of Business and Management Studies, 3(2), 347-353.
Srisuk, K. (2013). Research Methodology (3rd ed.). Chiang Mai : Chiang Mai University. (in Thai)
Tsutsui, W. M. (1996). Edwards Deming and the Origins of Quality Control in Japan. The Journal of Japanese Studies, 22(2), 295-325.