การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมโครงงานทักษะภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติและวิธีการทักษะย่อยทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สิระ สมนาม คณะศึกษาศษสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.42

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดกิจกรรม, การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน, เชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติ, วิธีการทักษะย่อยทางภาษา, โครงงานทักษะภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมโครงงานทักษะภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติและวิธีการทักษะย่อยทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา 241 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 318 คน ครูชั้นประถมศึกษา 8 คน ครูชั้นมัธยมศึกษา 8 คน นักศึกษาวิชาชีพครูภาษาไทย 33 คน นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูภาษาไทย 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการส่งเสริมทักษะภาษาไทยแก่ผู้เรียน 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรม 3) แบบประเมินแผนการจัดกิจกรรม 4) แบบประเมินการวิเคราะห์ทักษะย่อยภาษาไทย 5) แบบทดสอบทักษะภาษาไทย 6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมโครงงานทักษะภาษาไทย ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการจัดกิจกรรม 6 ขั้น ได้แก่ กำหนดคุณค่ามุ่งหวัง พลังความรู้สืบเสาะ วิเคราะห์เกิดก่อเค้าโครง เชื่อมโยงนวัตกรรมภาษา สืบคุณค่าฝึกฝน ประเมินผลปรับปรุง และ (4) การวัดและประเมินผล 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า (1) นักเรียนมีทักษะทางภาษาไทยสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) หลังจากร่วมกิจกรรม ครู และนักศึกษาสามารถวิเคราะห์ทักษะย่อยภาษาไทยได้ และ (3) ครู นักเรียนและนักศึกษาพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ระดับมากที่สุด

References

Aryadoust, V. (2010). Investigating writing sub-skills in testing English as a foreign language: a structural equation modeling study. National institute of education, Singapore.

British Council. (2019). Sub-skills. Retrieved January 7, 2020, from https://www.teachingenglish. org.uk/article/sub-skills

Cambridge Assessment English. (2009). Describing language skills and sub-skills. Cambridge Assessment English.

Hargis, J. (2005). Collaboration, community and project-based learning-does it still work online? International journal of Instructional media, 32(2), 157.

Iyer, M. (2015). Role of sub-skill approach to enhance listening: a study in the university of Jaffna, Sri Lanka ESL classrooms. ELT Voices, 5(6), 8-18.

Katz, L., & Chard, S. C. (2000). Engaging children’s mind: The project approach. Greenwood Publishing Group.

Lackman, K. (2010). Teaching speaking sub-skills. Ken Lackman & Associates Educational Consultants.

Moongthaisong, S. et al. (2018). The state and problems in Thai language instructional management of school in high land area under Chiang Rai educational service area office 3. Journal of social academic, 10(Special issue), 9-22. (In Thai)

Moursund, D. (1998). Project-based learning in an information-technology environment. Learning and leading with technology, 25(8), 4-5.

Nitayawan, K. & Jongkonklang, S. (2019). Stuey of Learning Outcome and Life and Career Skills of Grade 9 Students with Project-Based Learning Focuses on Local Wisdom NRRU Community Research Journal, 13(3), 247-259. (In Thai)

Office of the education council, ministry of education. (2018). National education plan 2017-2036. Bangkok : Prikwan graphic. (In Thai)

Pan, L. (2009). Sub-skills approach and extensive approach to reading in TEFL. Journal of Cambridge Studies, 4(3),112-120.

Phoyen, K. (2004). A model for developing systematic thinking to improve Thai language writing skill abilities for undergraduate students based on Triarchic theory and Scaffolding approach. Thesis, Doctor of philosophy degree in Educational Psychology, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Poonpipat, N. et al. (2018). The Study on curriculum for Thai language teaching at elementary education level of schools in local and ethnic areas in the north. Ganesha Journal, 14(2), 31-47. (In Thai)

Shin, S. (2002). Effects of sub-skills and text types of Korean EFL reading scores. Second language studies, 20(2),107-130.

Sirichan, P. (2006). Effects of instructional activity provision through project based vocabulary learning from environment for Prathom Suksa 1 students. Thesis, Master of education degree in Teaching Thai Language, Chiang Mai university, Chiang Mai. (In Thai)

Sternberg, R. J. (1985). Beyond IQ: A triarchic theory of human intelligence. CUP Archive.

Sternberg, R. J. (1994). Diversifying instruction and assessment. The Education Forum, 59, 48-52.

Sternberg, R. J., Jarvin, L., & Grigorenko, E. L. (Eds.). (2009). Teaching for wisdom, intelligence, creativity, and success. Corwin Press.

Thongaime, A. (2018). Project-based learning for developing student in the 21st century. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(3),185-199. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

สมนาม ส. (2020). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมโครงงานทักษะภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติและวิธีการทักษะย่อยทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยของผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 15–27. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.42