กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาคตะวันออก

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • กิจฐเชต ไกรวาส ไกรวาส
  • เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์
  • อาภาภรณ์ สุขหอม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.27

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การส่งเสริมความเข้มแข็ง, ชุมชนในภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

   

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบที่ดีในภาคตะวันออก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ในการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้นำชุมชน 21 คน 2) กลุ่มปราชญ์ชุมชน 14 คน และ 3) ตัวแทนประชาชน 70 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างโดยผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เป็นเครื่องมือในการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูลและการเปรียบเทียบข้อมูล

            ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนต้นแบบที่ดีทั้ง 7 แห่งมีกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ดังนี้ 1) การรับรู้และตระหนักในความสำคัญของปัญหาร่วมกัน 2) ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหา 3) ร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไข และ 4) ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง โดยปัจจัยความสำเร็จของทั้ง 7 ชุมชน มีความคล้ายคลึงกัน อาทิ ผู้นำชุมชนมีความเสียสละ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ชาวบ้านในชุมชนมีความสามัคคี และหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน เป็นต้น ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ 7 ชุมชนมีความต่างกัน กลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคด้านการดำเนินงาน อาทิ ความร่วมมือของชาวบ้านในระยะแรก ๆ มีค่อนข้างน้อย และการขาดการมีส่วนร่วมจากเยาวชนและคนรุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในด้านการจัดการ อาทิ ปัญหาในการจัดการกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมาก และการขาดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงผู้นำ เป็นต้น

References

Buranrak, W. (2005). People’s Political Movement : A Case Study of Environment Conservation Group in Udon Thani Province. Master Thesis of Political Science (Politics and Government). Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University. (In Thai)

Krivart, K. (2015). “The Community Democracy Blossom in Northeast Region of Thailand” In Proceeding from The Second (2 nd) National and International Conference on Quality in Management and Innovation. July 18th 2015. (pp.87-101). Bangkok : Siam Technology College. (In Thai)

_______. (2013). “The Community Democracy Blossom in Northeast Region Community In Thailand” In Proceeding from The Fourteen (14 th) Nation Conferrence on Political Science and Public Administration. November 27th-28th 2013. (pp.1499-1513). Ubon Ratchathani : Ubon Ratchathani University. (In Thai)

Krivart. K., et al., (2018). Problem-Based Learning Process for Empowerment Promotion of Community in the Eastern. Chonburi : Research Grant of Burapha University through National Research Council of Thailand. (In Thai)

Phanitkun, P. (2011). Guidelines for Issuing Ordinances/Ordinances of Local Government Organizations to Support Residential Development and Arable Land. Bangkok : Community Organizations Development Institute (Public Organization). (In Thai)

Pintobtang, P. (2013). The Study on Community Democracy. Bangkok : Political Development Fund for Civil Sector Commission Bereau, Political Development Council. (In Thai)

Social Data-based and Indicator Development Office. (2010). Situation Regarding Poverty of Thailand in 2010. Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Council. (In Thai)

Usuprat, P., et al., (2013). Laem Yai : Reviving Communities for Resource Management. Bangkok : Amarin Printing & Publishing Public Co.,Ltd. (In Thai)

Watcharakiettisak, T. (2016). “Community Economic Strengthening by Developing Community Enterprise Group at Tambonpolsongkarm Administration Organization, Nonsung District, Nakhonratchasima Province”. Journal of Business Administration, The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand Under the Patronage Of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, 5(1), 43-54. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

ไกรวาส ก., ณัถฤทธิ์ เ., & สุขหอม อ. (2020). กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาคตะวันออก: กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 84–94. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.27