ผลของการใช้แนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนต่อความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครู
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.4คำสำคัญ:
การศึกษาผ่านบทเรียน, ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน, นิสิตครูบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครูที่เรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนและนิสิตครูที่ไม่ได้เรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตครู ชั้นปีที่ 5 จำนวน 6 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรง 4.89 2) แบบสังเกตการสอนมีค่าความเที่ยงตรง 4.86 และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ฉบับ สำหรับนิสิตครู และครูพี่เลี้ยงโดยมีค่าความเที่ยงตรง 4.86 และ 4.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1. ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครูที่เรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียน ในภาคเรียนที่ 1 มีข้อจํากัดในทุกองค์ประกอบ โดยความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครูเกิดจากประสบการณ์เดิมที่ได้จากการเรียนรู้ในรายวิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 2 นิสิตครูมีการพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนสู่การปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทชั้นเรียนมากขึ้น โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนในการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการสอน ทำให้มีข้อจำกัดน้อยลงในทุกองค์ประกอบด้วย
2. ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครูที่ไม่ได้เรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนไม่มีความแตกต่างและมีข้อจำกัดในทั้งสองภาคเรียน โดยความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของนิสิตครูจะได้จากประสบการณ์เดิม ซึ่งมีอย่างจำกัดและไม่เพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติจริง
References
Cojorn, K. (2016). LESSON STUDY: THE STRATEGY TO ENHANCE CRITICAL THINKING ABILITY OF PRE-SERVICE TEACHER. Journal of Education Naresuan University, 18(1), 218-229. (In Thai)
Cojorn, K. (2017). Enhancing the Critical Thinking and Collaborative Problem Solving Ability of Pre-service Teacher through a Lesson Study Guideline. Veridian E-Journal Silpakorn University, Humanities, Social Sciences, and Arts, 10(3), 170-185. (In Thai)
Faikhamta, C. (2012). Pedagogical Content Knowledge for Teaching Nature of Science). KKU Research Journal, 2(2), 232-259. (In Thai)
Faikhamta, C. (2012). Pedagogical Content Knowledge for Teaching Science Teachers: Current Issues for Science Teacher Educators. Journal of Education Prince of Songkla University, 23(2), 2-19. (In Thai)
Triwaranyu, C. (2009). Lesson Study: New alternatives for teaching and learning development. Journal of Education Studies, 37(3), 131-149. (In Thai)
Inprasitha, N. (2009). Lesson Study: An Innovation for Professional Reform. Journal of Education Khon Kaen University, 32(2), 12-21. (In Thai)
Woranetsudathip, N. (2011). Lesson study: A New Concept for Teacher Professional Development. KKU Research Journal, 1(2), 86-99. (In Thai)
Office of National Economic and Social Development Council. (2016).The Twelve National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok : Office of the Prime Minister. (In Thai)
Meyer, R. D., & and Wilkerson, T. L. (2011). Lesson Study: The Impact on Teachers’ Knowledge for Teaching Mathematics: Book chapter of Lesson Study Research and Practice in Mathematics Education. Springer : Netherlands.
Shulman, L. S. (1987). Knowledge and Teaching: Foundations of the New Reform. Harvard Educational Review, 57(1), 1-22.
Sims, L., & Walsh, D. (2009). Lesson Study with preservice teachers: Lessons from lessons. Teaching and Teacher Education, 25(5), 724-733.