ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • ไพจิตร พุทธรอด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.6

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย และแบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจ เครื่องมือได้รับการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าด้วยสถิติทีและแมน-วิทนีย์-ยู-เทส

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจมีค่าความต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและระดับภาวะซึมเศร้าลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลุ่มทดลองมีความต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และความต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

Beck, A. T., Rush, A. J., Shaw. B. F., & Emery, G. (1979). Cognitive therapy of depression. New York : Guilford press.

Boonbunjob, U., & Dangdomyouth, P. (2018). The Effect of Family-Involved Resilience Promoting Program on Depression In Older Persons with Major Depressive Disorder. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 30(2),110-123. (in Thai)

Coopersmith, S. (1981). The Antecedent of Self-Esteem (2nd ed.). California : Consulting Psychologist Press.

Grotberg, E. H. (1999). Countering depression with the five building blocks of resilience. Reaching Today Youth, 4(1), 66-72.

Jeste, D. V., Savla, G. N., Thomson, W. K., Vahia, I. V., Glorioso, D. A., Martin, A. V. S., & Kraemer, (2013). Association between older age and more successful aging : critical role of Resilience. American Journal of Psychiatry, 170(2), 188-196.

Jiratchayaporn, K., & Chetchaovalit, T. (2015). Effect of Resilience Enhancing Program in Early Aldolescents in a school in Songkhla Province. Journal of Psychiatric and Mental Health, 29(3), 113-125. (In Thai)

Khuannet, P, Dangdomyout, P., & Upasen, R. (2018). The Effect of Resilience Enhancement Program on Self-Esteem Patients with Major Depressive Disorders. Journal of Psychiatric and Mental Health, 32(2), 39-51. (InThai)

Pakahan, D. (2017). The study on relationship between self-esteem and level of mental health of the elderly in the Elderly School under the Urban Community Health Center, Prae hospital (Rong Sor). Journal of the Phrae Hospital, 25(2), 12-23. (InThai)

Pantong, K. (2018). The Effect of Resilience Quotient Emphasizing Mindfullness-Based Program on Depression in Older Person with Major Depressive Disorders. Kuakarun Journal of Nursing, 25(2), 115-118. (InThai)

Phimpakarn, K. (2019). A Strengthening of Resilience in Patients with Major Depressive Disorders. Thai Journal of Health Education, 42(2), 218-225. (InThai)

Phongto, K., & Lueboonthawatchai, O. (2014). The Effect of Resilience Enhancement Program on Suicidal Ideation in Suicidal Attempter. Journal of Psychiatric and Mental Health, 28(1), 121-131. (InThai)

Pliendkerd, P. (2014). Depressive disorder: Nurses role in nursing care. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 18-20. (InThai)

Polit, D. F., & Back, C. T. (2004). Nursing research: Principles and method (7th ed.). Philadelphia : Lippincott.

Singhad, S. (2016). Nursing of the Elderly with Depression. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 18(3), 15-18. (InThai)

Siriphanich, B. (2016). Situation of The Thai Elderly. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Bangkok : Printery Ltd. (InThai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04

How to Cite

พุทธรอด ไ., & ศิลปกรรมพิเศษ ก. (2021). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(1), 70–82. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.6