การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพและแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะ บ้านปราสาทอำนวย ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.40คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ภาคีสุขภาพ, แกนนำครัวเรือน, การจัดการขยะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพและแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะ บ้านปราสาทอำนวย ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้มีส่วนร่วม มี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มภาคีสุขภาพ จำนวน 7 คน 2) กลุ่มแกนนำครัวเรือน จำนวน 45 คน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การจัดการปัญหาขยะในชุมชน ระยะที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพและแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพและแกนนำครัวเรือน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า สถานการณ์การจัดการปัญหาขยะในชุมชน ก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีการแยกขยะ ใช้วิธีการกำจัดขยะโดยการรวมขยะแล้วเผา หลังการเข้าร่วมกระบวนการ พบว่า แกนนำครัวเรือนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ประชาชนมีการแยกขยะและนำไปกำจัดให้ถูกหลักการจัดการทุกครัวเรือน รวมทั้งไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะในหมู่บ้าน มีกติกาชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะเพื่อนำไปใช้ในชุมชนต่อไป
References
Chomsuphap, A., Itsarangkul, V., & Purisarn, K. (2018). Solid waste management model by the community participation.In Dongsakran Village, Wangsawab Sub-district, Phuphaman District, Khon Kaen Province. College of Asian Scholars Journal, 8(Special Issue), 308-322. (In Thai)
Churak, Y., Jeawkok, J., Yammai, S., Dissakul, Y., & Tunlayanisaka, C. (2013). Patterns of household solid waste management in the Municipality Khaohuachang, Tamote District, Pattalung Province. In 8th National Hat Yai Conference (pp. 755-767). Songkhla : University Hat Yai. (In Thai)
Cohen, M., & Uphoff, T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Katawong, K. (2015). The development of local solid waste management model with the participation of the municipality community Non Suwan Subdistrict Non Suwan District Buriram province. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 18(2), 229-237. (In Thai)
Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1990). The Action research planner (3rd ed.). Victoria : Deakin University Press.
Muang Fai Subdistrict Administration Organization. (2017). The problem of waste and waste in Mueang Fai Subdistrict, Nong Hong District, Buri Ram Province. Buri Ram. (Mimeographed). (In Thai)
Parepuno, N. (Chiangka). (2018). Public participation in community waste management of Tunglooknok Subdistrict, Kampaengsaen District, Nakhon Pathom Province. Thesis, Master of Arts Program in Social Development, Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phra Nakhon Si Ayutthaya. (In Thai)
Pollution Control Department. (2017). Thailand State of Pollution Report 2016. Bangkok : Hua Yai. (In Thai)
Provincial Office for Natural Resources and Environment Buriram. (2017). The problem of municipal solid waste Buri Ram. Retrieved May 1, 2017, from http://buriram.mnre.go.th/th/index (In Thai)
Slawongluk, T., & Srikuta, P. (2019). Development of Household Waste Management Model based on Moderation Principle of Sufficiency Economy Philosophy : A Case Study of NongPluang Sub District, Jukkarat District, Nakhon Ratchasima Province. DPC 9 J, 25(2), 5-15. (In Thai)
Uppanun, W. (2013). Study of people engagement in waste disposal of Nonyor subdistrict Administrative Organization, Chum Puang District, Nakhon Ratchasima Province. Thesis, Master of Engineering Program in Civil Engineering, Institute of Engineering Suranaree University of Technology, Nakhonratchasima. (In Thai)