การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ กรณีศึกษาโรงเรียนทหารอากาศบำรุง

ผู้แต่ง

  • วาระดี ชาญวิรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุภาวดี วิสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปัทมาภรณ์ เสือทองปาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.32

คำสำคัญ:

โรงเรียนสุขภาวะ, ชุมชนการเรียนรู้, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาโรงเรียนซึ่งเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะผ่านกระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ กรณีศึกษาโรงเรียนทหารอากาศบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้บริหาร 1 คน ครูประจำการ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สร้างขึ้น ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแผนการจัดการเรียนรู้ โดบผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และใช้แบบประเมินโรงเรียนสุขภาวะของประวิต เอราวรรณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย ทดลองใช้แผน ระดับกระบวนการพัฒนาและทักษะที่จำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และระดับการแสดงออก

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเริ่มกระบวนการ PLC โรงเรียนมีทุนทางวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี คือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม 2) ผู้เรียนได้แผนบูรณาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 หน่วย กระจายทุกระดับชั้น 3) ผลการประเมินโรงเรียนสุขภาวะ ด้านครอบครัวเป็นสุขยังต้องปรับปรุงสูงที่สุด (ร้อยละ 66.67) ผลลัพธ์องค์ประกอบด้านโรงเรียนเป็นสุข ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุข และด้านผู้เรียนเป็นสุข อยู่ในระดับต้นแบบ และหลังการใช้แผนผู้เรียนมีทักษะด้านการเรียนรู้ ด้านชีวิต ด้านสุขภาพ และด้านคุณธรรมจริยธรรม เพิ่มขึ้น

References

Andrews, D., & Lewis, M. (2002). Creating a School for the 21stCentury : Experiences of a Professional Community. Conference Proceedings ASET/HERDSA 2000 Joint International Conference. Toowoomba, Queenslan.

Erawan, P. (2014). Training materials for curriculum development focusing on teachers as competencies using school-based. Bangkok : Education System Research Institute Foundation. (In Thai)

Erawan, P. (n.d.).Hand book self-assessment of health school. Retrieved October 18, 2017, from file:///C:/Users/asus/Downloads/Documents/ires01_manual.pdf (In Thai)

Institute for Research on Education System Foundation. (2017). A tool for developing a health school. Sarakham printing company. (In Thai)

Intanam, N., & Wongwanich, S. (2014). An application of the professional learning community approach to developing the learning process and enhancing academic achievement in the mathematics and science teaching of the Primary School Student. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 131, 476-483.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning organization : Exploring a model of organizational learning. Thesis, Doctoral of Education Program in Louisiana State University, The United Stated Of Americ.

Lombardi, M. (2007). Authentic Learning for the 21st Century : An Overview. Retrieved 11 April, 2020, from https://library.educause.edu/resources/2007/1/authentic-learning-for-the-21st-

Niyomsrisomsak. S. (2012). Developing the school into a learning organization : concrete practice. Journal of academic resources, 23(1), 17. (In Thai)

Phuangsomjit, C. (2015). Professional learning community. Lecture document at phang nga community college phang nga province on december 28, 2015. Bangkok : n.p. (In Thai)

Sergiovanni, T. J. (1994). Building community in schools. San Francisco : Jossey-Bass.

Thai Health. (2016). Teaching skills for happy learners. Bangkok : Institute for Research on Education System Foundation. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-07

How to Cite

ชาญวิรัตน์ ว., วิสุวรรณ ส., & เสือทองปาน ป. . (2021). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนสุขภาวะ กรณีศึกษาโรงเรียนทหารอากาศบำรุง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(2), 142–154. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.32