การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • กันตธี เนื่องศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โกวัฒน์ เทศบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.38

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรม, ภาวะผู้นำพลังร่วม, ภาวะผู้นำผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 758 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบปฏิสัมพันธ์ และระยะที่ 3 การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนไปใช้กับผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน เข้าร่วมพัฒนาตามโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติทีใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ (1) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (2) การเปลี่ยนแปลง (3) การตัดสินใจร่วม (4) การสรางทีมงาน และ (5) การเวียนกันเป็นผู้นำ มีกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน (160 ชั่วโมง) และ 3) ผลการนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ดังนี้ (1) ผู้บริหารโรงเรียนมีคะแนนหลังพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน และ (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Chatchawaphun, P. (2016). Development of Program to Enhance Strategic Leadership of Secondary School Administrators. Dissertation, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development, Faculty of Education, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Covey, S. R. (2007). The 7 Habits of Highly Effective People Powerful Lessons in Personal Change. New York : A Fireside Book.

Hiller, N. J., Day, D. V., & Vance, R. J. (2006). Collective enactment of leadership roles and team effectiveness : A field study. Leadership Quarterly, 17(4), 387-397.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educationaland Psychological Measurement, 30, 607-610.

Kuenkel, P., & Schaefer, K. (2016). The Art Of Leading Collective-Co-Creating A Sustainable, Socially Just Future. Germany : Potsdam.

Pakika, W. (2017). Developing Creative Leadership Program for School Administrators (Doctoral Dissertation). Graduate School : Mahasarakham University. (In Thai)

Sairam, B. (2016). Development of Programto Enhance Team Building Leadership Skills of School Administrators. Dissertation, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development, Graduate School, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Samriangjit, P. (2015). The Development of Collaborative Leadership Enhancement Program for Thai Primary School Administrators Under jurisdiction of the office of Basic Education Commission. Dissertation, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development, Graduate School, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Scannell, M., & Edward, E. (2010). The Big Book of Team Motivating Games : Spirit-Building, Problem-Solving and Communication Games for Every Group. United States : McGraw-Hill.

Sirisuwat, A. (2016). Collective Leadership: Network management. Retrieved September 1, 2016, from http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006september21p6.htm (In Thai)

Thongsuk, K. (2017). Developing a Program to Enhance Ethical Leadership of School Administrators under the office of Basic Education Commission. Dissertation, Doctor of Education Program in Educational Administration and Development, Graduate School, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Tzu, L. (2015). Tao Te Ching : A Book About the Way and the Power of the Way Paperback. Retrieved May 8, 2017, from http://www.ChildCareExchange.com

Wisalaphon, S. (2010). Education conditions for marginalized students in the Thai border provinces adjacent to Cambodia (2nd ed.). Bangkok : VTC Communication. (In Thai)

WongAnutaroj, P. (2010). Psychology of personnel management. Bangkok : Bangkok Supplementary Media Center. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-07

How to Cite

เนื่องศรี ก., จันทร์ศิริสิร พ., & เทศบุตร โ. (2021). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา . วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(2), 225–238. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.38