การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าครามสู่ฮิญาบผ้าครามเพื่อเข้าสู่มาตรฐานฮาลาลในเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • นันทกาญจน์ เกิดมาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.12

คำสำคัญ:

สร้างมูลค่าเพิ่ม, ฮิญาบผ้าคราม, มาตรฐานฮาลาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าครามสู่ฮิญาบมาตรฐานฮาลาล ด้วยวิจัยเชิงคุณภาพ การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ การสนทนากลุ่มแนวทางการพัฒนาผ้าครามสู่มาตรฐานฮาลาล ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง ผู้นำศาสนา ผู้บริโภค นักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 35 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำงานแบ่งงานตามความถนัด มีการผลิตเนื้อครามอินทรีย์เอง สมาชิกกลุ่ม มีความภูมิใจและมีทักษะความชำนาญการทอมัดหมี่ลายโบราณที่หลากหลาย ปัญหาพบว่า อุปกรณ์ สถานที่ ความรู้เรื่องฮาลาล การพัฒนาฮิญาบผ้าครามยังไม่เป็นตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) การพัฒนาฮิญาบผ้าครามตามมาตรฐานฮาลาล พบว่า เส้นใยที่เหมาะสม เส้นยืน 20/2 เส้นพุ่ง 30/2  2 ตะกอ 25 หลบ กว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร และกว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 170 เซนติเมตร เส้นใยนุ่ม ลู่ตามศรีษะ ซับเหงื่อ ไม่เป็นคราบ ไม่ด่าง ระบายอากาศ ไม่ร้อน มัดหมี่ลายเล็ก ใหญ่ ไม่ใช้ลายสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนา ข้อค้นพบใหม่ พบว่า ทำกรดรสเปรี้ยวผสมน้ำครามด้วยน้ำมะกอกสุก ทำให้หม้อครามสีเหลืองสุก ย้อมฝ้ายเข้มขึ้น ชื่อตรา “สามาวี่” “Samawi” ความหมายสีฟ้า สีน้ำเงิน เครื่องหมายรับรอง “ฮาลาล” ผ้าครามแห่งแรกของประเทศไทย เลขทะเบียน กอท.ฮล. K140/2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 บรรจุภัณฑ์สีเขียว ฉลุลายผ้าคลุมผมตรงกลางมองเห็นผลิตภัณฑ์ เป็นของฝาก ของขวัญ กลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับสูง กลยุทธ์ราคาสร้างภาพลักษณ์ 3) เพิ่มโอกาสทางการตลาด พบว่า สร้างช่องทางออนไลน์ Facebook Lazada ผ่านการสร้างสื่อโฆษณา การประชาสัมพันธ์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์เกิดการรับรู้และจดจำแก่ผู้บริโภคอย่างกว้างขวางจำหน่ายและแสดงผลงานนิทรรศการงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1440 เข้าถึงลูกค้ามุสลีมะห์ได้เป็นอย่างมาก

            ในการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ฮิญาบผ้าคราม พบว่า ด้านกลิ่นไม่เหม็นอับ ด้านดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย ระดับความพึงพอใจมากที่สุด การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮิญาบผ้าคราม พบว่า ผู้วิจัยชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบผ้าคลุมผม ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การวิจัยทำให้ลดต้นทุนการผลิตด้านเวลา ค่าใช้จ่าย ระดับความมีส่วนร่วมมากที่สุด

References

Ampansirirat, A., & Wongchaiya, P. (2017). The participatory action research: Key features and application in community. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 36(6), 192-202. (In Thai)

Bangkok Post. (2018). Hiyabs. Retrieved April 6, 2017, from https://www.bangkokpost.com/ (In Thai)

Chan-Hom. T. (2514). The Development of Textiles Products : Wisdom of Thai Song Dam in The Western Region of Thailand. Journal of the Association of Researchers, 21, 1-4. (In Thai)

Chudhavipata, W. (2012). Textile : Reflection of thai Traditions. Research raport. Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai)

Department of International Trade Promotion Ministry of Commerce, THAILAND. (2015). Economic knowledge Follow global market. Retrieved April 6, 2017, from https://www.ditp.go.th/contents_attach/94619/94619.pdf (In Thai)

Khunsawat, C. (2014). Development of The Local Wisdom Transmission Process Thai Kui Silk Weaving in Southern Isan. Research report. Burapha University, Chonburi. (In Thai)

Kotler, P. (2012). Marketing Management (13th ed.). New Jersey : Practice Hall.

Leksuit, S. (2018). Local Wisdom of Hand-Woven Textitle Conservation In Accordance with Dharma Principles of Bann NongnGuak Tetile center, Mae Raeng, Pasang District. Lamphun. Journal of Technology Thonburi, 29, 9-12. (In Thai)

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological, 3(1), 42-48.

Pupaka, D. (2016). Particaipatory Action Research for the development and technology transfer in science toward the standardization of community product : The case study of the community business group in Chachoengsao Province. Area Based Development Research Journal, 8(4), 116-145. (In Thai)

Somprajob, P., & Somprajob, B. (2008). Ban Cheing Doi Indigo Dye Cloth Group’s Products and Package Development at Sakonnakhon Province on One Tambon One Product. Research report. Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani. (In Thai)

ThaiTribune. (2015). Muslim clothing market in ASEAN. Retrieved April 6, 2017, from http://www.thaitribune.org/contents/detail/327?content_id=11674&rand=1473352017 (In Thai)

Topanurakkun, U. (2012). A PARTICIPATORY ACTION RESEARCH IN CONSERVING AND PASSING ON THAI SONG DUM’S CLOTH WEAVING WISDOM. Research report. Silpakorn University, Bangkok. (In Thai)

Waijittragum, P. (2010). The standard development of Islamic identity in graphic design for Halal product and service. Research report. Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Waijittragum, P. (2016). Brand Identity Creation for Halal Product Bangkok. Art and Architecture Journal Naresuan University, 7(1), 95-107. (In Thai)

WongInta, T., Kasikitwiwat, P., Niyomdecha, H., Chanklap, B., & ToAe, R. (2015). Value Chain Analysis of Halal Food. Journal of Transportation and Logistics, 8, 1-11. (In Thai)

Wongwanich, S. (2007). Needs assessment research. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Yingwattanagrai, M., & Kalamkasait, P. (2012). Hajab in Islam, A study of the opinion of Islamic scholars and Muslimah students in Universities in Bangkok. Research report. Mahidol University, Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-02

How to Cite

เกิดมาลัย น. (2021). การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ผ้าครามสู่ฮิญาบผ้าครามเพื่อเข้าสู่มาตรฐานฮาลาลในเชิงพาณิชย์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(1), 153–164. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.12