การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุวิมล ตั้งประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นุชตรียา ผลพานิชย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปิยะมาศ สุรภพพิศิษฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เมธี กีรติอุไร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นิรวิทย์ เพียราษฎร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นพดล เพิ่มสมบูรณ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.68

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านการสื่อสาร, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), การฝึกอบรม

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการฝึกอบรมความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. โดยวิเคราะห์ข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับ สถานภาพ และความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. ในด้าน ความรู้ทางกระบวนการสื่อสาร ทักษะการสื่อสาร การรู้จักตนเอง และแรงจูงใจในการสื่อสาร ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. และประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนว 5 คน และขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการฝึกอบรม และประเมินประสิทธิผลการฝึกอบรม จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม และผลการเรียนรู้ที่ได้จากการฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า 1) อสม. มีระดับความสามารถด้านการสื่อสาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านแรงจูงใจในการสื่อสาร รองลงมา คือ ด้านการรู้จักตนเอง ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านความรู้ทางกระบวนการสื่อสาร ตามลำดับ 2) หลักสูตรการฝึกอบรมความสามารถด้านการสื่อสารของ อสม. ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกหัวข้อการฝึกอบรม และ 3) อสม. มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรม โดยเฉลี่ย 8.69 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ มีระดับผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

Abhisit, T. (2010). Technique for trainer and Speaker. Bangkok : V. Print (1991). (In Thai)

Bangmo, S. (2006). Technique for Training and Meeting (3rd ed.). Bangkok : Wittayaphat. (In Thai)

Bunyatharokul, W. (2002). The handbook for Trainer and Training Provider. Bangkok : Dansutha Printing. (In Thai)

Choksitthikiart, S. (2010). The Factors Related to Training Management Efficiency and Employees’ Competencies at Rojana Industrial Park in U-Thai District, Phranakhon Si Ayutthaya Province. Thesis, Master of Business Administration Program in Business Administration, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, Phranakhon Si Ayutthaya. (In Thai)

Intahkhat, P. (2011). Factors Affecting Success of Job Performance of Village Health Volunteers in Doi Saket District, Chiang Mai Province. An Independent Report, Master of Public Health Program in Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai)

Jareonpakdee, C. (2011). Problems and Solutions of the Operations of Village Health Volunteers, Wiangsa District, Nan Province. Thesis, Master of Public Administration Program in Urban and Rural Community Administration and Development, Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit. (In Thai)

Korbsiriphath, P. (2007). Development of an In-service Teacher Training Curriculum for Educational Reform in the Early Childhood Education Curriculum B. E. 2546. Research Report. Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima. (In Thai)

Kukkong, P. (2014). Health Communication Competency of Village Health Volunteers in Khon Kaen Province. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Communication Arts, Sukhothai Thammathirat Open University, Bangkok. (In Thai)

Ninesavang, V. (2008). Effectiveness of the Science and Mathematics Teacher Training at Luangprabang Teacher College, Lao People’s Democratic Republic. Thesis, Master of Arts Program in Management and Project Evaluation. Loei Rajabhat University, Loei. (In Thai)

Palanusorn, P. (2006). Communication Competency for the Well-being of Nationally Outstanding Village Health Volunteers in Amnat Charoen Province. Thesis, Master of Arts Program in Development Communication, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Primary Health Care Division. (2007). Standard Training Curriculums for Village Health Volunteers (VHVs.) B.E. 2550. Nonthaburi : Radiation. (In Thai)

Rattanavarang, W. (2016). Health Communication: Concepts and Application. Bangkok : Thammasat Printing House. (In Thai)

Smithikrai, C. (2013). Personnel Training in Organizations (8th ed.). Bangkok : V. Print (1991). (In Thai)

Tiplert, A. (2005). Communication Competence of Community Leader in Community Management : Case Study of Tumbon Bangchaocha, Amphur Phothong, Aungthong Province. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Mass Communication, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Yaisawang, E. (2011). The Development of a Competency Training Program to Develop Professional Competency of Non-Life-Insurance Agents. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Non-Formal Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07

How to Cite

พงษ์พุทธรักษ์ ป., ตั้งประเสริฐ ส., ผลพานิชย์ น., สุรภพพิศิษฐ์ ป., กีรติอุไร เ., เพียราษฎร์ น., & เพิ่มสมบูรณ์ น. (2021). การพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(4), 99–111. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.68