รูปแบบการบริหารเครือข่ายเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในการเพิ่มมูลค่าข้าวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ปิยะนันท์ ทรงสุนทรวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.28

คำสำคัญ:

การบริหารเครือข่าย, นาแปลงใหญ่, การเพิ่มมูลค่าข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท กระบวนการผลิตข้าว รูปแบบการบริหารกลุ่ม 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการผลิตข้าว รูปแบบการบริหารกลุ่ม 3) หาข้อเสนอแนะสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในการเพิ่มมูลค่าข้าวอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม พร้อมการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับทุกกลุ่ม รวมจำนวน 42 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 1.0 เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงบริบทของเนื้อหา และนำเสนอแบบพรรณนาบรรยาย

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ในพื้นที่ 4 กลุ่มนาแปลงใหญ่ มีสมาชิกรวม 658 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 7,913 ไร่ สามารถลดต้นทุนด้วยวิธีการปลูกแบบนาโยน จำนวนเมล็ดพันธ์ที่ปลูกต่อไร่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี 2) ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การบริหารกลุ่ม ได้แก่ นโยบายภาครัฐที่ขาดความต่อเนื่อง สมาชิกไม่ตระหนักถึงผลประโยชน์ของการเข้าร่วมกลุ่มนาแปลงใหญ่ และสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มเพียงเพื่อรับผลประโยชน์ส่วนตนบางอย่าง 3) แนวทางการสร้างรูปแบบมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) โครงสร้างเครือข่าย มาจากตัวแทนกลุ่มทั้ง 4 กลุ่ม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และนักวิชาการในพื้นที่ (2) กำหนดเป้าหมายเป็นพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 3) สร้างองค์ความรู้ให้เกิดการมีส่วนร่วม (4) กำหนดมาตรการในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (5) สร้างกองทุน (6) บริหารการตลาดขาย online

References

Chareonwongsak. K. (2000). Network Management : Strategic importance to the success. Bangkok : Success. (In Thai)

Department of Agricultural Extension. (2018). Agricultural extension system for large plots. Retrieved March 3, 2018, from https://co-farm.doae.go.th/news.php (In Thai)

Krootboonyong. C. (2011). Managerial Accounting. Bangkok : SE-EDUCATION. (In Thai)

Limnirunkul, B., & Yimmantasiri, P. (2011). Agricultural innovation in supporting organic rice production system of small holder farmers in Northern Thailand. Chiang Mai : Faculty of Agriculture Chiang Mai University. (In Thai)

Mana, C. & Opatpatanakit, A. (2017). Marketing Management Potential of Agricultural Products of Sufficiency Economy Group In Pa sak Sub-District, Mueang District. Lamphun Province. KHON KAEN AGR. J., 45(1), 527-533. (In Thai)

Nakhon Ratchasima Provincial Office. (2018). Nakhon Ratchasima Development Plan 2018-2021. Review of the fiscal year 2017. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Provincial Office. (In Thai)

Pajai, S., & Jinda, N., Anoma, S., & Romkaew, S. (2016). Cost and Return on Thai Jasmine Rice 105 Farming of the Farmers in Village No. 6, Keu Wiang Sub-district, Dok Khamtai District, Paryao Province. Conference: Payap University Research Symposuim 2016 (pp. 610-623). Research and Academic Service, Chiang Mai. (In Thai)

Pangsrisam, P. (2009). Knowledge management related to organic agriculture of farmer's network in Khon Kaen Province. Thesis, Master of Art Progroms in Development, Graduate School, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Plungsricharoensuk, P. (2012). Guideline for development on community welfare network through sufficiency economy philosophy. Academic service activities for society, presentation of agricultural and related research results.Bangkok : Sukhothai Thammathirat. (In Thai)

Ponkhot, K. (2018). Knowledge management the local wisdom rice production safety to the GAP standard in samrit field, Nakhon Ratchasima province. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Puangngam. K. (2010). Community and Local Self-Governance. Bangkok : Bophit Printing. (In Thai)

Royal Thai Government Gazette. (2018). National Strategy 2018-2037. Volume 135, Part 82Kor. Government Gazette 13 October 2018. (In Thai)

Srigiofun, Y., Meckhaya, T., Bhackdee, K., Suwan, K., Tassanakowit, U., Innongchang, S., & Lomlai, S. (2012). Alternative : Promoting organic agriculture and integrated pest management of San-sai farmers, Chiang Mai province. Chiang Mai : Maejo University. (In Thai)

Suebsen, A. (2013). A Comparative Study on Cost and Return of Wet Season Rice and Dry Season Rice of Farmers in Songpuai Subdistrict, Khamkhueankaeo District, Yasothon Province. An Independent Study Report, Master of Accounting Program in Faculty of Management Science, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 448.

Wiig, K. (1993). Knowledge Management Foundations : Thinking About Thinking How Organizations Create, Represent and Use Knowledge. Arlington, TX : Scherma Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-06

How to Cite

ทรงสุนทรวัฒน์ ป. (2021). รูปแบบการบริหารเครือข่ายเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในการเพิ่มมูลค่าข้าวอย่างยั่งยืน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(2), 94–103. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.28