การพัฒนาความสามารถในการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

การพัฒนาความสามารถในการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ ทานอก
  • สมบูรณ์ ตันยะ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom action research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษาคุณภาพโครงร่างวิทยานิพนธ์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน รหัสวิชา 102681 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ แบบประเมินคุณภาพโครงร่างวิทยานิพนธ์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง คือการทดสอบค่าที (T-test for dependent sample)

            ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ก่อนจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย 29.27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.17 หลังจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 32.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.83 ซึ่งมีผลต่างหรือความก้าวหน้าเท่ากับ 3.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 7.67 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) คุณภาพโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรและการสอนเมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 สามารถจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ที่มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และอยู่ในระดับดี จำนวน 11 คน และ 3) ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมหรือมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จิราภรณ์ ชูวงศ์ และ ปฏิญญา ก้องสกุล. (2555). “ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุ เขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง”. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(2), 30-37.

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาดโดยการสอนแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นิภา กิมสูงเนิน. (2557). “ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต”. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 56-69.

บัณฑิตวิทยาลัย. (2557). รายงานประจำปี บัณฑิตวิทยาลัย 2557. นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ระบบบริการการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก http://reg.nrru.ac.th /registrar/teach_browse.asp?cmd=1&classid=495007&classacadyear=&avs664690041=682

สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานนท์ พึ่งสาย และต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2557). “ผลของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 233-254.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

ทานอก ส., & ตันยะ ส. (2018). การพัฒนาความสามารถในการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: การพัฒนาความสามารถในการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 10–22. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.21