การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา
  • บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.23

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายสังคม, กิจกรรมลีลาศเพื่อผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของผู้สูงอายุในกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพ และ 2) พัฒนาแนวทางการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมลีลาศ โดยรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมผู้สูงอายุเป็นกลุ่มตัวอย่างสมาชิกกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพในเขตเมืองจันทบุรี จำนวน 40 คน ใช้แบบสำรวจเครือข่ายทางสังคมเก็บข้อมูล และวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมด้วยโปรแกรม UCINET 6.0 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพมีค่าคะแนนเข้าสู่ระดับศูนย์กลางสูงสุด คือ 39  ค่าคะแนนศูนย์กลางความใกล้ชิดสูงสุด คือ 100 และค่าคะแนนศูนย์กลางระหว่างสูงสุด คือ 53.74 จากนั้นดำเนินการสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เครือข่ายการทำงานกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพจำแนกได้ 6 ลักษณะคือ 1) ด้านความสัมพันธ์ในกลุ่ม 2) ด้านการบริหารกิจกรรมลีลาศให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3) ด้านการขับเคลื่อนกิจกรรมลีลาศ 4) ด้านการฝึกสอนกิจกรรมลีลาศ 5) ด้านการจัดงานลีลาศสังสรรค์ และ 6) ด้านการสืบสานกิจกรรมลีลาศของคนรุ่นใหม่ จากนั้นดำเนินการสนทนากลุ่มแกนนำสมาชิกจำนวน 8-12 คน เพื่อหาแนวทางการรณรงค์ทางการสื่อสารสุขภาพผู้สูงอายุ โดยวิธีวิเคราะห์ SWOT พบว่า แนวทางการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสุขภาพคือ การจัดโครงการลีลาศเพื่อสุขภาพชุมชน : น้อง-พี่สมานฉันท์ ณ เมืองจันทบุรี มีผู้เข้าร่วม 160 คน ผลการประเมินโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติลีลาศเพื่อสุขภาพในระดับดีมาก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สถานการณ์สังคมผู้สูงวัย 2561. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2561, จาก http://www.dop. go.th/th/know/2/127

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 21-38.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ปัทมาวดี สิงหจารุ. (2558). การออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 21(2), 99-108.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา, บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ และ สมพงษ์ เส้งมณีย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองจันทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 35-47.

สมคิด แทวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.

สราวุธ ชัยวิชิต. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำนันทนาการกับการจัดโปรแกรมการใช้เวลาว่างขององค์กรการใช้เวลาว่างในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานันทนาการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aronson, E., & Golden, B. W. (1962). The effective of relevant and irrelevant accept of communicator creditability on opinion change. Journal of Personality, 1(30), 135-136.

Borgatti, S. P., Everett, M. G., & Freeman, L. C. (2002). Ucinet 6 for Windows: Software for Social Network Analysis. Harvard, MA: Analytic Technologies.

Borgatti, S.P., Everett, M.G., & Johnson, J.C. (2013). Analyzing Social Networks. UK : Sage Publications.

Ethier, J. (2006). Current Research in Social Network Theory. Retrieved July 11, 2018, from http:// www.ccs.neu.edu/home/perrolle/archive/Ethier-SocialNetworks.html

Middlebrook, P. N. (1974). Social psychology and modern life. New York : Knopf.

Northouse, L. L., & Northouse, P. G. (1998). Health communication: Strategies of health professionals. London : Pearson Education.

Schäfer, M. S., & Taddicken, M. (2015). Opinion Leadership Revisited: A classical concept in a changing media environment. International Journal of communication, 9, 956-959.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

ตั๋นติกุลวรา ร. ., & ปั้นบำรุงกิจ บ. (2018). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี: การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมของกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 39–53. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.23