วิจัยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่

วิจัยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่

ผู้แต่ง

  • นัยน์ปพร ชุติภาดา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.24

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ดีดสะบ้า, รังกาใหญ่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา วิธีการเล่นสะบ้า และอนุรักษ์การเล่นสะบ้ายิง ฉะนั้นผู้วิจัยจึงนำผลจากการศึกษาค้นคว้ามาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงทางด้านนาฏศิลป์จากการละเล่นพื้นบ้าน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ ศึกษารวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านถึงขั้นตอน วิธีการเล่น ท่าทางที่ใช้เล่นสะบ้า และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การเล่นสะบ้าในพื้นที่ตำบลรังกาใหญ่มีลักษณะการเล่นสะบ้าที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองคือ การใช้ไม้แค็ด (ไม้ไผ่เหลาให้แบนมีขนาด 1 ฟุต) ในการดีดลูกสะบ้าให้โดนลูกสะบ้าของคู่ต่อสู้ การเล่นสะบ้าของชาวบ้านตำบลรังกาใหญ่มีลักษณะการเล่นที่แตกต่างจากการละเล่นของภูมิภาคอื่นคือ เป็นการเล่นเพื่อการแข่งขันเป็นหลัก ในการสร้างสรรค์การแสดงได้นำท่าเล่นจาก 28 ท่า มาใช้ในการประกอบแสดงเพียง 6 ท่า ได้แก่ ท่าอีอก ท่าอีหมากกะโป๋ ท่าอีเข่าแก่ ท่าคีบต่อย ท่าอีจมูกดุด และท่าอีสีลอยส่งก้น การเล่นจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แสดงถึงความแข็งแรงของผู้เล่น ต้องมีความแม่นยำในการยิงลูกสะบ้าในท่าทางต่าง ๆ การแสดงชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่ ได้แบ่งช่วงการแสดงอออกเป็น 4 ช่วง คือ 1) เป็นการชวนกันของหนุ่มสาวมาเล่นสะบ้า 2) แสดงถึงการเตรียมสถานที่เล่นสะบ้า 3) นำเสนอท่าทางการเล่นสะบ้าระหว่างชายและหญิง 4) แสดงการรำวงคู่กันระหว่างชายหญิงหลังจากแข่งขันเสร็จสิ้น ใช้วงดนตรีมโหรีพื้นบ้านโคราชประกอบการแสดง เครื่องแต่งกายประยุกต์จากการแต่งกายแบบพื้นบ้านโคราช คือ สวมเสื้อและนุ่งโจงกระเบน สวมใส่เครื่องประดับดินเผา

References

ชัชชัย โกมารทัต. (2549). กีฬาพื้นเมืองไทยภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร : สถาพรบุ๊คส์.

ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2558). การสร้างสรรค์ละครเพลงร่วมสมัย เรื่องศิลปินผู้บุกเบิกนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ประเสริฐ ค้าขาย, นาย. (2559, 24 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

พจน์มาลย์ สมรรคบุตร. (2538). แนวการคิดประดิษฐ์ท่ารำเซิ้ง. อุดรธานี : สำนักงานส่งเสริมวิชาการสถาบันราชภัฏอุดรธานี.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2554). ของดีโคราชเล่ม 4 กีฬาและนันทนาการ. กรุงเทพมหานคร : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). โคราชของเรา. นนทบุรี : มติชนปากเกร็ด.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ นุ่มเจริญ. (2550). นาฏยประดิษฐ์ของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพระประแดง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

ชุติภาดา น. (2018). วิจัยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่: วิจัยนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด ดีดสะบ้ารังกาใหญ่. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 54–69. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.24