โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล การจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล การจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.22คำสำคัญ:
ประสิทธิผลการจัดบริการ, การแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อยืนยันข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล จำนวน 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.97 โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสมการโครงสร้างและทำการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทำการยืนยันข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดบริการสุขภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงคือการจัดการเชิงกลยุทธ์ (0.45) การสื่อสารในองค์การ (0.30) แรงจูงใจในงาน (0.17) กับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (0.67) แรงจูงใจในงาน (0.09) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (0.67) การจัดการเชิงกลยุทธ์ (0.45) การสื่อสารในองค์การ (0.30) และแรงจูงใจในงาน (0.26) ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาโมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพได้ ร้อยละ 64.70 2) โมเดลการวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าสถิติ χ2=114.61, df=93, χ2/df=1.23, p=0.06, CFI=0.99, TLI=0.99, RMSEA=0.02, SRMR=0.02 และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย หน่วยงานในระดับนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมผู้บริหารของโรงพยาบาลชุมชนควรให้ความสำคัญมุ่งนำการจัดการเชิงกลยุทธ์และนำองค์ประกอบของกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง และกลยุทธ์มุ่งเน้น มาปรับปรุงประสิทธิผลองค์การ
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560, จาก http://opendata.moph.go.th/fopd/dataHospital2560.pdf
กาญจนา ศิริเจริญวงศ์, จริยา ชื่นศิริมงคล และ ลักขณา ยอดกลกิจ. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อความพึงพอใจในบรรยากาศองค์การของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ฉัตรา โพธิ์พุ่ม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
ธกรศักดิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2552). กลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2554). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาล เอกชนในประเทศไทย. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ .(2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. นนทบุรี : วิกิ.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานการพิมพ์สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
Aaker, D. A. (2001). Strategic market management (6th ed.). New York : John Wiley & Sons.
Avolio, B. J., David A., W., & Walter, O. E. (1988). Transformational Leadership in a Management Game Simulation. Impacting the bottom line. Group and Organization Management, 13(1), 59-80.
Burn, N., & Grove, S. K. (2001). The practice of nursing research : Conduct, critique & utilization (4th ed.). Philadephia : W.B.Saunders.
Casey, A., & Wallis, A. (2011). Effective communication : Principle of nursing practice. Nursing Standard, 25(32), 35-37.
Cook, W. C., & Hunsaker, P. L. (2001). Management and Organization Behavior (3rd ed.). New York : McGraw-Hill.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.
Herzberg, F. (1959). The Motivation of Work. New York : John Wiley & Sons.
Hoy, W. K., & Cecil, M. (2001 ). Educational Administration : Theory, Research, and Practice (6th ed.). Singapore : McGraw-Hill Book Co-Singapore for Manufacture and Export.
Pounder, J. S. (2001). New Leadership and University organizational effectiveness: exploring the relationship. Leadership & Organization Development Journal, 22(6), 281-290.
Vadhnapijyakul, A. (2011). The Status and Development of Traditional Medicine : The Influence of State and Medical profession under Capitalism. Thesis submitted the degree of doctor of philosophy (medical and health social sciences), Faculty of graduate studies Mahidol university.
World Health Organization. (2013). Policy direction and strategy The WHO Traditional Medicine Strategy 2014-2023. Geneva : WHO.
Yates, K. (2006). “Internal Communication Effectiveness Enhances Bottom-Line Results.”Journal of Organization Excellence, 11(24), 71-79.