การสร้างสรรค์การแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช

การสร้างสรรค์การแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช

ผู้แต่ง

  • รัตติกร ศรีชัยชนะ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.26

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์การแสดง, ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์การแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ตามเขตพื้นที่อุทยานธรณีโคราช เขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ในชื่อชุดชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช และเพื่อประเมินผลคุณค่าของการแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากศึกษา การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากผู้นำท้องถิ่น ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชาติพันธุ์โคราช อุทยานธรณีวิทยา แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ขึ้นเป็นชุดการแสดง

            ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อุทยานธรณีโคราช มีเรื่องราวความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่หลากหลายและโดดเด่นแตกต่างกัน ใช้ศึกษาค้นคว้า เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดต่อบุคคลรุ่นหลังและผู้สนใจ ผ่านรูปแบบของศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ นำมาถ่ายทอดเป็นท่ารำโดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์นาฏศิลป์มาสร้างสรรค์ท่ารำ และนำเสนอในรูปแบบของการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ โดยกำหนดรูปแบบการแสดงเป็น 3 ช่วงได้แก่ ร่ายรำตีบทตามเนื้อร้อง การแสดงท่าทางประกอบเนื้อร้องและทำนองเพลงที่บ่งบอกถึงลักษณะของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ และแสดงท่าทางประกอบทำนองเพลงที่แสดงถึงการร่วมมือร่วมใจกัน ประกอบการเรียบเรียงทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ การออกแบบเครื่องแต่งกายมีการประยุกต์จากการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์และใช้เผยแพร่แก่โรงเรียนเครือข่ายเป็นชุดการแสดงที่นักเรียนได้เรียนรู้และจัดเป็นการแสดงนาฏศิลป์ ที่ใช้เป็นกิจกรรมของนักเรียนและสถานศึกษาในการหนุนเสริมการประชาสัมพันธ์การเข้าสู่ความเป็นจีโอพาร์คของยูเนสโกได้

References

กิตติฤกษ์ ปิตาทะสังข์ (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ของสี่กลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานใต้ เพื่อออกแบบการ์ตูนสำหรับสื่อประชาสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จรุงศรี โพธิ์กลาง และคณะ. (2560). วัฒนธรรมท้องถิ่นในอุทยานธรณีโคราช. นครราชสีมา : ม.ป.พ.

นงนุช วงษ์สุวรรณ และคณะ, บรรณาธิการ. (2546). 72 ปี จรูญศรี วีระวานิช เนื่องในวาระอายุครบ 6 รอบของบรมครูที่เคารพรักยิ่งของศิษย์นาฏศิลป์สวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

นฤมล ปิยวิทย์. (2558). กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องโคราชศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

บุญสม สังข์สุข, นาย. (2560, 25 สิงหาคม). นายกสมาคมหมอเพลงโคราช. สัมภาษณ์.

ประเทือง จินตสกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. (2560, 10 สิงหาคม). ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน. สัมภาษณ์.

ปรีชา อุยตระกูล. (2541). ของดีโคราช เล่ม 1 สาขามนุษยศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

วิลาวัลย์ วัชระเกียรติศักดิ์, นาง. (2560, 19 กันยายน). ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์. สัมภาษณ์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

ศรีชัยชนะ ร. . (2018). การสร้างสรรค์การแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช : การสร้างสรรค์การแสดงชุด ชาติพันธุ์ในอุทยานธรณีโคราช . วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 83–96. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.26