ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2

ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2

ผู้แต่ง

  • กานต์ เนตรกลาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.27

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, การยกระดับคุณภาพการศึกษา, การประเมินยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 354 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนซึ่งมีความเที่ยงทั้งเท่ากับ 0.95 แบบประเมินความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความถูกต้อง และความเหมาะสม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 มี 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 7 ตัวชี้วัด 5 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 4 ตัวชี้วัด 4 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนากำลังคนรวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 8 ตัวชี้วัด 6 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 5 ตัวชี้วัด 5 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 6 ตัวชี้วัด 5 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 จัดสรรทรัพยากรในระบบการศึกษาเพื่อสร้างความรับผิดชอบและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ ประกอบด้วย ผลผลิต ผลลัพธ์ 5 ตัวชี้วัด 7 กลยุทธ์ และผลการประเมินยุทธศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

บรรจบ บุญจันทร์ กานต์ เนตรกลาง และ อริสา นพคุณ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา. นครราชสีมา : เก่งการพานิช.

พงษ์ชัย บุญคง และ ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2553). ปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Education Graduate Studies Research Khon Kaen University, 4(4), 116-122.

รุ่งนภา จินดามล และ คมสันท์ ขจรปัญญาไพศาล. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3), 98-107.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2560). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2547). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปี 2557. นครราชสีมา : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2.

องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD). (2555). ผลการสอบโครงการประเมินผลการศึกษาปิซ่า (PISA). พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/ detail/631580

Eisner, E. W. (1976). “Education connoisseurship and criticism.” The Journal of Aesthetic Education, 10(3), 135-150.

Guskey, T. R. (2002). Evaluation professional development. California : A Sage Publication.

Hisschemöller, M., & Hoppe, R. (2001). Coping with intractable controversies : The case for problem structuring in policy design and analysis. Policy Studies Review Annual, 12(5), 47-72.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McCauley, C. D., Moxley, R. S., & Velsor, E. V. (1998). Handbook of leadership development. San Francisco : Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

เนตรกลาง ก. (2018). ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2: ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 97–111. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.27