การออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา

การออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุธิดา วรรธนะปกรณ์
  • ภักดี ปรีดาศักดิ์
  • พีนาลิน สาริยา
  • สุทธิชาติ ใจชอบสันเทียะ
  • นุสรา ทองคลองไทร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.28

คำสำคัญ:

ตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น, พัฒนาผลิตภัณฑ์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, ตำบลหมื่นไวย

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสื่อสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่นให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างเอกลักษณ์ในการการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่ในเขตตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากการสุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่าง ใน 9 หมู่บ้าน ทำการวิเคราะห์สู่กระบวนการออกแบบบนฐานแนวคิดในการแปลงทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่สู่นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า สื่อสัญลักษณ์ที่เหมาะสมและเป็นภาพลักษณ์ของพื้นที่ที่โดดเด่นและเป็นที่จดจำ คือ ผลิตภัณฑ์ขนมจีนประโดก ในเขตพื้นที่หมู่ 1 ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ประกอบด้วย เส้นขนมจีน น้ำยาไก่ น้ำยาป่า น้ำยาป่า น้ำยาปลากะทิ น้ำยาหวาน (น้ำพริก) และโบสถ์ 300 ปี เป็นสื่อสัญลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว และ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้การแฝงทัศนคติเชิงบวกออกแบบตัวการ์ตูนเด็กและสัตว์เลี้ยง น่ารัก สีสันสดใส สะดุดตา มีความเป็นมิตร ตามแนวคิดการแปลงภาพสัญญะจากศิลปะและวัฒนธรรมวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ ได้ 4 รูปแบบ คือ น้องกะทิและลุงช่อน พี่แกงไก่และแม่กะต๊าก พี่แกงป่า และ เจ้าน้ำพริก โดยได้นำผลงานการออกแบบมาต่อยอดสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก ได้ 5 ชนิด คือ ชุดหมอนอิง 5 แบบ ถุงผ้าแบบรุด 6 แบบ และแบบมีหูหิ้ว 6 แบบ เข็มกลัด 7 แบบ กระติกน้ำ 5 แบบ และ สติ๊กเกอร์ไลน์ที่ใช้ภาษาโคราชสื่อความหมาย 9 แบบ

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. 2555. สื่อเก่า-สื่อใหม่ : สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์.กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์

มธุริน ธรรมทรงศนะ. (2557). การศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการสร้าง yurukyara กรณีศึกษา’คุมะมง’และ ‘ฟุนัชชี่’. ปริญญานิพนธ์ของกระบวนวิชา 018499 (Seminar in Japanese Language and Literature) สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

รจนา จันทราสา. (2554). การมีส่วนร่วมของกลุ่มชุมชนในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์กล้วยทอดกรอบบ้านสารภี จังหวัดสมุทรสงครามเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 62-72.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จากhttp://www.nesdb.go.th/download/article/ article_20160323112431.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php? nid=6422

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

วรรธนะปกรณ์ ส., ปรีดาศักดิ์ ภ., สาริยา พ., ใจชอบสันเทียะ ส., & ทองคลองไทร น. (2018). การออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา: การออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ท้องถิ่น สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเขตพื้นที่ตำบลหมื่นไวย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 112–126. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.28