สภาพการณ์การสื่อสารเพื่อกำหนดแนวทางสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ เสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพการณ์การสื่อสารเพื่อกำหนดแนวทางสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ เสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผู้แต่ง

  • สุทธินันท์ โสตวิถี
  • ภารดี พึ่งสำราญ
  • รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.29

คำสำคัญ:

สภาพการณ์การสื่อสาร, การฟื้นฟู อนุรักษ์, ความมั่นคงด้านอาหาร, โครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสาร ปัญหาอุปสรรค และความต้องการทางการสื่อสาร เพื่อกำหนดแนวทางสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา โครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จากเอกสาร ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีระดมความคิดเห็นกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ คณะทำงานภาครัฐโครงการธนาคารปูม้า กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกแกนนำเครือข่าย พบว่า การสื่อสารโครงการธนาคารปูม้าได้มีภาครัฐเป็นผู้ส่งสารหลักซึ่งนำข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงวิธีหรือมาตรการการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนที่เกิดจากผลของโครงการธนาคารปูม้าเผยแพร่ต่อชุมชน ผ่านแกนนำสมาชิกจนเกิดเป็นเครือข่ายความสำเร็จร่วมกัน ใช้การเจรจาพูดคุย สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารประกอบด้วย 2 ประการ คือ การขาดงบประมาณสนับสนุนในการผลิตสื่อเฉพาะกิจและมาตรการทางกฎหมาย สภาวการณ์การสื่อสารเป็นลักษณะการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตามขั้นตอนการสื่อสารในการพัฒนาระบบการจัดการประมงทั้ง 10 ขั้นตอน ด้านความต้องการทางการสื่อสาร พบว่า ต้องการให้มาตรการต่างๆมีการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกันมากขึ้น การปลูกฝังความรับผิดชอบและสร้างจิตสำนึกได้ส่งผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน

References

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์ และคณะ. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

กังวาลย์ จันทรโชติ. (2541). การจัดการประมงโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

กิติมา สุรสนธิ. (2548). การวางแผนการสื่อสาร : แนวคิดและเทคนิค.ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิติมา สุรสนธิ. (2556). การสื่อสารปัญหาใหญ่ของการบริหารจัดการน้ำท่วม. วารสารศาสตร์, 6(2) : 139-163.

ฐกร ค้าขายกิจธวัช. (2559). อรุณรุ่งของทรัพยากรปูม้าที่อ่าวคุ้งกระเบน.เอกสารเผยแพร่. จันทบุรี : หน่วยงานสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ และคณะ. (2553). ความคิดเห็นของชาวประมงขนาดเล็กที่ทำประมงปูม้าต่อการจัดการทรัพยากรปูม้าในจังหวัดตรัง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ. (2546). การจัดการประมงปูม้าในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

ศจินทร์ ประชาสันต์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). แผนแม่บทแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2555 – พ.ศ. 2559). จันทบุรี : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมง : กรณีศึกษาชุมชนประมงต้นแบบอ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. (2550). หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : ส.ส.ท.

สุชาติ เอกไพฑูรย์. (2554). แนวทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการทางสังคมในบริบทประเทศไทยกรณีศึกษา : “ธนาคารปู”ของกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า ชุมชนเกาะเตียบ ตําบลปากคลอง อําเภอปะทิว จังหวัดชุมพร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

อรพิน กาบสลับ. (2550). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนในชุมชนลุ่มแม่น้ำเวฬุ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อุธร ฤทธิลึก. (2556). การจัดการทรัพยากรประมง. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

โสตวิถี ส. ., พึ่งสำราญ ภ., & ตั๋นติกุลวรา ร. . (2018). สภาพการณ์การสื่อสารเพื่อกำหนดแนวทางสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ เสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: สภาพการณ์การสื่อสารเพื่อกำหนดแนวทางสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ เสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาโครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 127–141. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.29