การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ด้านการขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีข้าวด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ด้านการขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีข้าวด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ผู้แต่ง

  • นวพร ฝอยพิกุล
  • สโรชินี แก้วธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.31

คำสำคัญ:

ข้าว, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การขนส่ง

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ด้านการขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีข้าวด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ (FAHP) ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ปัจจัยระยะห่างจากโรงสี ปัจจัยระยะห่างจากถนนสายหลัก ปัจจัยระยะห่างจากถนนสายรอง ปัจจัยปริมาณผลผลิต ในการกำหนดฟังก์ชันความเป็นสมาชิกของปัจจัยโดยทำการแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ระดับตามความเหมาะสม ได้แก่ ศักยภาพสูง (S1) ศักยภาพปานกลาง (S2)  ศักยภาพน้อย (S3) และศักยภาพน้อยที่สุด(N) จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบความสำคัญของระดับความเหมาะสมของปัจจัยด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ (Pair wise comparison) และทำการกำหนดค่าความเป็นสมาชิกด้วยฟังก์ชันความเป็นสมาชิกแบบสามเหลี่ยม (Triangular membership function) จากนั้นทำการสร้างแผนที่ศักยภาพของที่ดินโดยวิธีการซ้อนทับชั้นข้อมูล (Overlay) แบบ Weight Overlay ระหว่างปัจจัยการเข้าถึงกับปัจจัยผลผลิตในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ผลการศึกษาพื้นที่ 8 อำเภอตอนบนของจังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพสูงพบมากที่สุดในเขตอำเภอคง คิดเป็นร้อยละ 48.57 ของพื้นที่ศักยภาพสูงทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อำเภอบัวใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 20.68 และอำเภอโนนแดง คิดเป็นร้อยละ 16.70 ตามลำดับ โดยผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ระบบการขนส่งข้าวเปลือกในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในอนาคตต่อไป

References

สนั่น เถาชารี และ ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. (2555). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(1), 125-141.

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2557). บรรยายสรุปจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นจาก www.fisheries.go.th/if-korat/images/downloads/generaldata.doc.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา. (2558). รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2558. นครราชสีมา : สำนักงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา.

อนุรักษ์ สว่างวงค์. (2552). การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจหลายหลักเกณฑ์แบบฟัซซี่ในการคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งและระบบเชื่อมต่อของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Thomas L. S., &. Luis, G. V. (2001). Models, Methods, Concepts & Applications of the Analytic Hierarchy Process. n.p. : Kluwer Academic Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

ฝอยพิกุล น., & แก้วธานี ส. . (2018). การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ด้านการขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีข้าวด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: การศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ด้านการขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีข้าวด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 155–168. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.31