แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ชลาลัย วงศ์อารีย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.32

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ส่งเสริมสุขภาพ, กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม, ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อ1) ศึกษาบริบทและปัญหาของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่บ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทธไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้านสำหรับท้องถิ่นชุด ฟ้อนบูชาหลวงปู่ขาว เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุชาย-หญิงในชุมชนบ้านหัวสะพานจำนวน 60 คน เก็บข้อมูลแบบวิธีผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างสำหรับรวบรวมข้อมูล และแบบประเมินเพื่อวัดความสุขของผู้สูงอายุ

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนถูกทิ้งให้อยู่บ้านเพียงลำพัง แต่ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรมที่ดี ผู้วิจัยจึงสร้างสรรค์บทสรภัญญะ พร้อมกับออกแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหว 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเพลงนำพา กิจกรรมท่าพื้นฐาน กิจกรรมประสานท่วงที กิจกรรมมีลีลางามสง่าผู้สูงวัย และสร้างสรรค์ชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์พื้นบ้าน 1 ชุด ได้แก่ ฟ้อนบูชาหลวงปู่ขาว โดยใช้ลักษณะการออกแบบท่ารำแบบเล่าเรื่องตามประวัติของหลวงปู่ขาวเพื่อง่ายต่อการจดจำและกระตุ้นความสนใจต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความกระตือรือร้นและแสดงอารมณ์สนุกสนานตลอดการทำกิจกรรมเคลื่อนไหว และจากการทำแบบประเมิน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกด้าน

References

งามจิตต์ จันทรสาธิต และ ธนาทิพ ฉัตรภูศิ. (2550). ประมวลข้อมูล 30 โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยเล่ม 1 ใน ชุดสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัย. กรุงเทพมหานคร : เอส เอ็น มีเดีย แอนด์ แพ็ค.

บุษกร บิณฑสันต์. (2553). ดนตรีบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : วี.พริ้นท์(1991).

ปิยภัทรเดช เดชพระธรรม. (2554). “การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ.” ใน สิรินธร ฉันศิริกาญจนา, กุลภา ศรีสวัสดิ์ และชิษณุ พันธุ์เจริญ. Live Long & Strong เล่ม 3 สูงวัย (หน้า 136-143). กรุงเทพมหานคร : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

รัศมี เชาระกำ, นาง (2559, 25 พฤศจิกายน). ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง. สัมภาษณ์.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2559). รู้จริงและเข้าใจ สุขภาพผู้สูงวัยและภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพมหานคร : วี.พริ้นท์(1991).

สรีรรัตน์ สุกมลรัตน์. (2560). Live well together ดูแลผู้สูงอายุ สร้างสุขในครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : สุขพับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

วงศ์อารีย์ ช. (2018). แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ: แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 169–184. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.32