การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดที่ 23
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัดที่ 23
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.35คำสำคัญ:
การยกระดับ, การติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวคิด Constructivism โดยการติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและยกระดับผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนให้สูงขึ้น และ จัดกระบวนการการจัดการความรู้ด้านการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของผู้บริหาร ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัด 23 อย่างต่อเนื่องอันจะก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ (Professional learning community : PLC) ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการถอดบทเรียนจากผู้เข้าร่วมวิจัย และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมและผลการทดสอบ O-NET กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร ครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสังกัด 23 จำนวน 11 โรง รวม 71 นาย ใช้การเลือกแบบเจาะจงและพิจารณาจากความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบกรอกข้อมูลระหว่างการร่วมกิจกรรม แบบสะท้อนผลการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย (Inductive content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหาร ครู มีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการทดสอบ O-NET 5 ปีย้อนหลัง วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และนำผลมาวางแผนการสอนได้ ประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ BBL PBL และ RBL ออกแบบผังการสร้างแบบทดสอบ สร้างแบบทดสอบได้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และนำมาใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอนได้ 2) ผลการทดสอบ O-NET โดยภาพรวม 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 สูงขึ้น จำนวน 5 โรง คิดเป็นร้อยละ 45.45 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2558 และสูงกว่าปีการศึกษา 2558 เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2557 ซึ่งมีเพียงจำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 30.00 และ 3) ผู้บริหาร ครูในกลุ่มสาระเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน และระหว่างโรงเรียน มีการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านความสำเร็จ ความล้มเหลว จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาร่วมกัน
References
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23. (28 มีนาคม 2560). ส่งรายงานผลคะแนน O-NET. บันทึกข้อความ ที่ 0030.33(232)/540 หน้า 1-9, สกลนคร.
_______. (15 มิถุนายน 2561). ส่งแบบรายงานโครงการพระราชดำริฯ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. หนังสือส่งภายนอก ที่ ตช 0030.33(232)/1158 หน้า 1-11, สกลนคร.
จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ชัยรัตน์ สิทธิรัตน์. (2551). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : แคเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอรั่น.
ประภาพร อุ่นอบ. (2552). แนวคิด และวิธีวิทยาการ ถอดบทเรียน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). ถึงเวลาเปลี่ยนผ่านจาก”โรงเรียน” สู่ “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” เพื่อปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ที่การทำงานร่วมกันของครู คือพลังสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก http://www. gotoknow.org/posts/539976
ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (2558). ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2560, จาก https://sites.google.com/site/researchlru/ro-reiyn-tarwc-trawen-chay daen-ni-canghwad-ley
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิจัยเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, กรุงเทพมหานคร.
สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ และคณะ. (2558). โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยส่งเสริมการนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET: Ordinary National Educational Test) ไปพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ, กรุงเทพมหานคร : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
หนูฤทธิ์ ไกรพล. (2558). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.
Hiatt-Michael, D. (2001). Caring and the learning community. Unpublished manuscript, Pepperdine University, Malibu, CA.
Hord, S. M., & Sommers, W. A. (2008). Leading Professional Learning Communities: Voices from research and practice. Thousand Oaks, CA : Corwin.
John, C. M. (2008). Build the Leadership Team (4th ed.). New York : Princess.
Johnson, W. C., & Vicki, L. P. C. (2004). Designing and Conducting Mixed Methods Research. London : Sage.
Kemmis, S., Mctaggart, R., & Nixon, R. (2014). The Action Research Planner : Doing Critical Participatory Action Research. New York : Springer Singapore Heidelberg.
Martin, E., & other. (1994). Teaching Science for all Children. Massachusett : Allyn and Bacon.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Doubleday, New York, NY : MCB UP Ltd.