การสื่อสารกับการต่อรองอำนาจและการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น:ศึกษากรณีสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

การสื่อสารกับการต่อรองอำนาจและการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น:ศึกษากรณีสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ผู้แต่ง

  • จิรพัฒน์ โทพล

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.36

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, อัตลักษณ์, แฟนบอลท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นนำเสนอให้เห็นถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมผ่านการสื่อสารในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น ในบทบาทของโลกาภิวัตน์ที่กระทบต่อการเคลื่อนที่ของผู้คน โดยมุ่งศึกษา 1) รูปแบบการสื่อสารและวัฒนธรรมความเป็นท้องถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาการก่อตัวของแฟนบอลพลัดถิ่นต่างชาติในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการสร้างและการธำรงอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธี 1) การวิจัยเอกสาร 2) การสังเกตภาคสนามแบบมีส่วนร่วม 3) การสังเกตภาคสนามแบบไม่มีส่วนร่วม และ 4) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแฟนบอลพลัดถิ่นโดยมีโครงสร้างคำถามเป็นแนวทางและแบบบันทึกการสังเกตผลการวิจัยพบว่า 1) ระหว่างแฟนบอลไทยกับแฟนบอลพลัดถิ่นไม่มีความแตกต่างในเรื่องของรูปแบบการสื่อสาร แต่แฟนบอลไทยมีการใช้เครื่องมือทางการสื่อสารในปริมาณสูงกว่าคนพลัดถิ่น ส่วนวัฒนธรรมท้องถิ่นจะนำมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างอัตลักษณ์ของสโมสร 2) ด้านการก่อตัวท้องถิ่นของแฟนบอลพลัดถิ่นต่างชาติ พบว่าปัจจัยที่ทำให้เป็นแฟนบอลมักเกิดจากสื่อบุคคลเช่นภรรยาชาวไทยและเพื่อนนอกเหนือจากการทำผลงานของทีมที่ประสบความสำเร็จ 3) คนพลัดถิ่นที่มาเป็นแฟนบอลสโมสรท้องถิ่นสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของสโมสรมากขึ้น และผสมผสานสร้างอัตลักษณ์ของตนเองขึ้นใหม่

References

กรรณิการ์ วรหาร. (2556). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนามของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ในหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา.กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

กุลวิชญ์ สำแดงเดช. (2551).การใช้สื่อเพื่อสร้างและธำรงรักษาอัตลักษณ์ของแฟนสโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร. (2546). การชมฟุตบอล : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ผ่านสื่อโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม Localism การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมสุข หินวิมาน. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรรพร ศิริขันธ์. (2557). “การเตรียมพร้อมด้านเจตคติและการสร้างเสริมความเข้าใจของครูสอนภาษาอังกฤษคนไทยในภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่ออาเซียน.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 51.

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2551). การสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษาและต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.

Arjan Appadurai. (1996). Modernity at large : cultural dimensions of globalization. Minneapolis, Minn. : University of Minnesota Press.

Carrington, B. (2010). Race, Sport and Politics: The Sporting Black Diaspora. London : SAGE.

Cohen, R. (2008). Global Diasporas: An Introduction. Abingdon England : Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-08

How to Cite

โทพล จ. (2018). การสื่อสารกับการต่อรองอำนาจและการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น:ศึกษากรณีสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด: การสื่อสารกับการต่อรองอำนาจและการสร้างอัตลักษณ์ของคนพลัดถิ่นในพื้นที่วัฒนธรรมฟุตบอลท้องถิ่น:ศึกษากรณีสโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี และบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12((Special), 230–242. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2018.36